
4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 54
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 26 มีนาคม 2568
- Tweet
ตัวอย่างเช่น แผ่นปิดกะโหลกศีรษะเฉพาะบุคคล (Patient-specific titanium mesh implant) และ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ที่ช่วยเหลือแพทย์ตรวจจับ (Detect) ความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Inspectra platform)
ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง (Access) บริการตรวจสุขภาพ แม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล (Distant) ลดความแออัด (Congestion) และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (Travel) มาโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และลดภาระของบุคลากร (Staff burden) ทางการแพทย์ได้
ประการที่สอง บุคลากรทางการแพทย์ของไทยเป็นบุคลากรคุณภาพ (Quality) สูง และมีความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในสาขาต่างๆ เฉพาะด้าน เช่น สาขาโรคเขตร้อน (Tropical diseases) หรือโรคของประเทศกำลังพัฒนา (Developing)
ทั้งนี้เป็นผลพวงมาจากการที่ รัฐบาลได้ให้งบประมาณอุดหนุน (Subsidized budget) การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้มีจำนวนมากเพียงพอ โดยที่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทางการแพทย์ได้รับงบประมาณสูงที่สุด (Maximum) เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยด้านอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังมีการลงทุน (Investment) เพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้ม (Trend) ที่จะได้รับการสนับสนุนมากขึ้นในอนาคต
ประการสุดท้าย ในด้านของความต้องการ (Demand) เครื่องมือแพทย์ในประเทศ (Domestic) พบว่ามูลค่าการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย + 6.5% ต่อปี ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วย (Patient census)
โดยเฉพาะ การเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable diseases: NCDs) แบบเรื้อรัง (Chronic) ได้แก่ โรคเบาหวาน (Diabetes), โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease), โรคมะเร็ง (Cancer) และโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)
ทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณไปกว่า 1 ใน 5 ของค่าใช้จ่าย (Expenditure) รวม นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าการเพิ่มขึ้นของเครื่องมือแพทย์ประเภทใช้ภายในบ้าน (Home use) จะเพิ่มขึ้น จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Fully-aged society) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็น 20% ของประชากรหรือประมาณ 13 ล้านคน
ตัวเลขนี้รวมผู้ป่วยติดเตียง (Bed-ridden) 400,000 คน อีกทั้งยังมีความต้องการเครื่องมือแพทย์ของผู้พิการ (Disable) กว่า 2.1 ล้านคน ซึ่งกว่า 50% เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Physical mobility)
แหล่งข้อมูล –