logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ โรคขี้เต็มท้อง

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : โรคขี้เต็มท้อง

โรคขี้เต็มท้อง/โรคอุจจาระอุดตัน (Fecal impaction) คือโรคที่มีอุจจาระแข็งและแห้งปริมาณมากมายคั่งค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะส่วนไส้ตรง (ส่วนปลายลำไส้ใหญ่ที่ใช้กักอุจจาระก่อนปล่อยออกนอกร่างกาย) จนท้นเข้าในลำไส้ใหญ่ส่วนอื่นๆ ที่ต่อเนื่องกับไส้ตรง จนในที่สุดกักค้างในทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ จนก่ออาการเรื้อรังผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดท้องผูกเรื้อรังหรือกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการบีบตัวมีหลายปัจจัย ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ: เพราะเซลล์ผนังลำไส้จะเสื่อมตามธรรมชาติ/ตามวัย จึงทำงานถดถอย
  • การใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ลำไส้จึงบีบตัวเคลื่อนไหวลดลงต่อเนื่อง
  • กินอาหารที่มีใยอาหารน้อย เช่น ขาดผักผลไม้ ส่งผลให้ขาดตัวกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว
  • ดื่มน้ำน้อยส่งผลเกิดภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ก้อนอุจจาระจึงแห้งแข็งเคลื่อนที่ลำบาก
  • มีโรคสมองหรือโรคไขสันหลังที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ เช่น โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อม อุบัติเหตุที่ไขสันหลัง
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่ใช้เป็นประจำซึ่งส่งผลให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวลดลง เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาจิตเวชบางชนิด เป็นต้น
  • โรคต่างๆ บางโรค เช่น โรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังบางโรค โรคภูมิต้านตนเอง ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนโรคเบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งไส้ตรง
  • ผลข้างเคียงจากผ่าตัดลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะบริเวณไส้ตรงที่ส่งผลให้ลำไส้ใหญ่ตีบ
  • ท้องอืด แน่นท้อง  ร่วมกับ ปวดท้องแบบปวดบีบ
  • ท้องเสียเป็นน้ำเป็นครั้งคราว โดยเกิดจากอุจจาระใหม่ที่ยังเป็นน้ำอยู่ไหลซึมผ่านก้อนอุจจาระที่แข็งออกมา
  • ปวดเบ่งเมื่อถ่ายอุจจาระ / ปวดอุจจาระตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง แห้ง ลำอุจจาระขนาดเล็กผิดปกติ อุจจาระเป็นเลือด
  • ปัสสาวะบ่อย มักร่วมกับปัสสาวะเล็ด หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะก้อนอุจจาระในลำไส้กดเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ
  • อื่นๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว เบื่ออาหาร น้ำหนักลดผิดปกติ ปวดหลังช่วงล่าง จากการเพิ่มแรงดันของก้อนอุจจาระในท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน
  1. การกำจัดอุจจาระออกจากลำไส้ใหญ่: เช่น ใช้ยาแก้ท้องผูก สวนอุจจาระ ผ่าตัดลำไส้ เป็นต้น
  2. ป้องกันการสะสมกักค้างของอุจจาระ: ที่สำคัญที่สุด คือ  ป้องกันท้องผูก ซึ่งดูแลรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ชนิดของอาหารน้ำดื่ม การขับถ่าย การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการใช้ยาตามแพทย์แนะนำ
  3. ดูแลรักษาโรคที่เป็นผลข้างเคียงจากโรคขี้เต็มท้อง

โรคอุจจาระอุดตัน/โรคขี้เต็มท้อง ถ้าได้รับการรักษา โรคมักจะหายเป็นปกติเสมอ แต่ต้องใช้ระยะเวลารักษา อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่รีบดูแลรักษา เมื่อเกิดผลข้างเคียง อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงถึงตายได้ถ้ารักษาไม่ทันหรือการรักษาไม่ได้ผล ซึ่งผลข้างเคียง เช่น ภาวะลำไส้อุดตันจากก้อนอุจจาระ ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้ทะลุจากการขยายยืดจนบางของผนังลำไส้ร่วมกับแรงดันของก้อนอุจจาระ ริดสีดวงทวาร ฝีคัณฑสูตร เป็นต้น