logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ทรามาดอล

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ทรามาดอล

ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวด ซึ่งมีกลไกการทำงานคล้ายกับอนุพันธุ์ของฝิ่น ใช้ระงับและบรรเทาอาการปวดระดับกลางไปจนกระทั่งระดับรุนแรง ทั้งชนิดอาการปวดแบบเฉียบพลันและชนิดปวดแบบเรื้อรัง ยาจะถูกดูดซึมและเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1 ชั่วโมงหลังการกิน จากนั้นจะถูกส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างที่อวัยวะตับ และต้องใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยาในกระแสเลือด 50% ออกจากร่างกายโดยผ่านมาทางปัสสาวะ

ยาทรามาดอลมีกลไกการออกฤทธิ์ที่สมอง โดยจะยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาทในสมอง 2 ตัว คือ Serotonin และ Norepinephrine อีกทั้งยังเพิ่มการหลั่งสารเซโรโทนินภายในสมองอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ทรามาดอลยังเข้าไปจับกับตัวรับ (Receptor) ในสมองที่เรียกว่า Mu-Opiate Receptors และด้วยกลไกที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้เกิดการระงับอาการปวดได้

คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปากคอแห้ง วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก หรือ ท้องเสีย ง่วงนอน อ่อนเพลีย วิตกกังวล หงุดหงิด ผื่นคัน ลมพิษ ปัสสาวะบ่อย เหงื่อออกมาก น้ำหนักลด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง การมองภาพได้ไม่ชัดเจน ตับอักเสบ

  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยานี้ และ/หรือ แพ้ยาแก้ปวดกลุ่มยาเสพติด เช่น มอร์ฟีน
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยพิษสุราเรื้อรัง/ โรคพิษสุรา
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่อยู่ในภาวะสลบ
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีโรคระบบทางเดินหายใจและผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคลมชัก
  • ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • การใช้ยานี้เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ อาจก่อให้เกิดการติดยา
  • หลังใช้ยานี้อาจทำให้การควบคุมร่างกายด้อยประสิทธิภาพลงไป ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร และ/หรือ การขับรถ
  • กฎหมายยาของประเทศไทยกำหนดให้ยาทรามาดอลเป็น ‘ยาอันตราย ‘ การใช้ยานี้ต้องระมัดระวัง และควรอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถเพิ่มการกดประสาทส่วนกลางทำให้มีอาการ มึนงง อาการคล้ายคนเมา วิงเวียนศีรษะ มากยิ่งขึ้น จึงห้ามใช้ร่วมกัน
  • การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับยาแก้ปวดชนิดที่เป็นยาเสพติด สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ใช้ยามีอาการชัก อึดอัดและหายใจไม่สะดวก/หายใจลำบาก มีอาการตัวสั่น การพูดจาติด ขัด เดินเซ เป็นต้น หากมีความประสงค์จะใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการกินให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยยาแก้ปวดชนิดเสพติดดังกล่าว เช่นยา Codeine และ Fentanyl
  • การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับยาต้านเศร้า สามารถกระตุ้นให้เกิดการชักได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ที่ติดสุรา ผู้ที่ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ยาต้านเศร้าดังกล่าว เช่นยา Amitriptyline
  • การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับยาคลายความวิตกกังวล/ยาคลายเครียด บางตัว สามารถเกิดผลข้างเคียงตามมา อาทิเช่น วิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน การควบคุมสติสัมปชัญญะแย่ลง ยาคลายความวิตกกังกลดังกล่าว เช่นยา Diazepam, Lorazepam