logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาขยายหลอดลม

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาขยายหลอดลม

  • ใช้ขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคหืด
  • ใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรคปอด
  1. Beta 2agonist Beta 2 adrenergic agonist (Beta adrenergic receptor) ที่กล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบริเวณนี้คลายตัว หลอดลมจึงขยายตัว ซึ่งแบ่งยากลุ่มนี้ตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ได้เป็น 2 ประเภท/ชนิดได้แก่
  • ชนิดออกฤทธิ์สั้น: ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์เร็ว ภายในระยะเวลาประมาณ 5 นาที และมีระยะเวลาออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้นานประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง เช่น ยา Salbutamol, Terbutaline
  • ชนิดออกฤทธิ์ยาว/นาน: ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า ภายในระยะเวลาประมาณ 20 นาที และมีระยะเวลาออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้นานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เช่น ยา Salmeterol, Formoteral
  1. Methyl xanthines: เป็นสารที่พบในธรรมชาติ เช่น ชา กาแฟ และช็อกโกแลต สารนี้ที่นำมาใช้เป็นยาขยายหลอดลม เช่น Aminophylline และ Theophylline
  2. Anticholinergics Antimuscarinic Acetylcholine ที่มีตัวรับบริเวณกล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอดลม ส่งผลให้หลอดลมขยาย ยากลุ่มนี้แบ่งตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ได้เป็น 2 ประเภท/ชนิด ได้แก่
  • Ipratropium
  • ชนิดออกฤทธิ์ยาว/นาน เช่น Tiotropium

 

  • ไม่ควรใช้ยาในกลุ่ม Beta 2-agonist ชนิดออกฤทธิ์สั้นเป็นยาเดี่ยวๆ เพื่อบรรเทาอาการต่อเนื่องนานเกินไป เพราะร่างกายอาจตอบสนองต่อการใช้ยาได้ลดน้อยลง แต่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นควบคู่กันไปเพื่อควบคุมอาการด้วย
  • ระวังการใช้ยาในกลุ่ม Beta 2-agonist ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง/ โรคซีโอพีดี  เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักมีโรคหัวใจร่วมด้วย การใช้ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้แม้จะใช้ยาในขนาดปกติก็ตาม
  • ห้ามบดหรือเคี้ยวยาเม็ด Theophylline ชนิดออกฤทธิ์เนิ่น/นาน (Sustained-release theophylline) แต่สามารถแบ่งใช้เม็ดยาได้
  • Theophylline เป็นยาที่มี *ดัชนีการรักษาแคบ มีประวัติการสูบบุหรี่และการใช้ยาอื่นๆ เพราะอาจส่งผลให้ระดับเอนไซม์ตับซึ่งทำหน้าที่ขจัดยาออกจากร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้ควบคุมระดับการใช้ยานี้ในแต่ละบุคคลได้ค่อนข้างยาก
  1. ยา Beta 2-agonist: มีผลข้างเคียง เช่น ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มือสั่น กระวนกระวาย ปวดหัว นอนไม่หลับ และถ้าใช้ยามากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งการใช้ยาสูดพ่นจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้น้อยกว่ายากิน
  2. ยา Methyl xanthines: มีผลข้างเคียงเช่น ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และอาการอื่นๆ เช่น มือสั่น นอนไม่หลับ ความดันโลหิตต่ำ โดยถ้าได้รับยาขนาดสูงมากๆ อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตเพราะผู้ป่วยอาจชัก หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  3. ยา Anticholinergics: มีผลข้างเคียง เช่น ปากคอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง/ไม่ถ่ายปัสสาวะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า