logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาทาร้อนใน

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาทาร้อนใน

ร้อนใน เป็นกลุ่มอาการทางสุขภาพที่ผิดจากปกติหลายๆ อย่าง อาจแสดงออกดังนี้ คือ ตาแฉะ มีขี้ตามากหลังตื่นนอน เจ็บที่เหงือก เหงือกเป็นแผล กระพุ้งแก้มด้านใน/ริมฝีปากด้านในเป็นแผล ลิ้นแตกเป็นแผล ลมหายใจร้อน คอแห้ง ปากขม กระหายน้ำ เจ็บคอ บางครั้งมีอาการไอ (ไอร้อน) มีเสมหะเหลืองข้น เมื่อยตามตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกรุมๆ คล้ายจะเป็นไข้ ท้องผูก ถ่ายค่อนข้างลำบาก

  • นอนน้อย นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ
  • ความเครียด โมโห ฉุนเฉียว
  • กินอาหารฤทธิ์ร้อนมากเกินไป เช่น ขนมปังเบเกอรี่ ของมัน ของทอด เนื้อติดมัน ของหวาน ไอศกรีม เหล้า เบียร์ ผลไม้ที่หวานมากๆ
  • กัดปากตัวเอง เวลาเคี้ยวข้าวบังเอิญไปกัดริมฝีปากบ้าง กัดลิ้นบ้าง กัดกระพุ้งแก้มบ้าง
  • ขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ (เกลือแร่) โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก โฟเลต หรือวิตามินบี 12
  • อาจเป็นจากกรรมพันธุ์
  • เป็นประจำเดือน เกิดกับผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือน เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
  • กินอาหารรสจัดมากไป เค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด

แผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเหนื่อยล้าหรือทรุดโทรม จึงต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรง เช่น การกินอาหารให้เหมาะสม นอนหลับอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายกลางแจ้งในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการนี้ลงไปได้ ส่วนการใช้ยามีทั้งยาแก้ร้อนในแผนปัจจุบันและแผนโบราณ

ยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาแผลร้อนในให้หายขาดโดยไม่ปรากฏอาการขึ้นมาอีก การรักษาที่นิยมในปัจจุบันคือ รักษาไปตามอาการโดยให้สเตียรอยด์ชนิดทาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการเจ็บและอาการอักเสบ ดังนี้

  1. Triamcinolone acetonide01
  2. Fluocinolone acetonide01
  3. Chlorhexidine gluconate02110 1

ซึ่งปกติให้ทาหลังอาหาร 3 มื้อ หรือจะทาก่อนนอนก็ได้ เพราะสะดวกกว่าและช่วยให้หายเร็วมากกว่าทาเวลาอื่น เพราะตอนนอนยาจะติดทนนานกว่า เนื่องจากไม่ค่อยมีการขยับปากมาก

  1. ยาบัวบก
  2. ยามะระขี้นก
  3. ยารางจืด
  4. ยาหญ้าปักกิ่งง