logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาน้ำกัดเท้า

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาน้ำกัดเท้า

ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า แบ่งประเภทตามกลุ่มยาที่ใช้ตามระยะของการเกิดโรคได้ดังนี้

ก. ระยะแรก: ระยะที่ผิวหนังที่เท้าเริ่มเกิดอาการอักเสบและระคายเคือง: ยาที่ใช้ เช่นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เช่นยา Hydrocortisone, Triamcinolone, Betamethasone, Mometasone, Clobetasol, Prednicarbate

ข. ระยะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่รอยโรคที่เท้า: ยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังที่เท้า เช่น

  • ยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดทาภายนอก (Topical Antibiotics): เช่นยา Mupirocin, Sodium Fusidate, Gentamicin, Chloramphenicol, Povidone-Iodine
  • ยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดกิน (Oral Antibiotics): เช่นยา Cloxacillin, Dicloxacillin, Azithromycin, Cephalexin

ค. ระยะที่มีการติดเชื้อราแทรกซ้อน: ยาที่ใช้ เช่น

  • ยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก (Topical antifungals): เช่นยา Ketoconazole, Butenafine, Tolnaftate, Ciclopirox
  • ยาต้านเชื้อราชนิดกิน (Oral antifungals): เช่นยา Fluconazole, Griseofulvin, Ketoconazole, Itraconazole, Nystatin

ง. นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยากลุ่มอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคน้ำกัดเท้า เช่น

  • ยาแก้แพ้ชนิดกิน (Oral antihistamines): เช่นยา Hydroxyzine, Cetirizine, Diphenhydramine, Cyproheptadine
  • ยาขี้ผึ้งวิทฟิลท์ (Whitfield’s ointment) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยา 2 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก และกรดซาลิซิลิก 
  • ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือ วาสลีน
  • ห้ามใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก ทาผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา เพราะมีความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง และห้ามใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 4 สัปดาห์ เพราะอาจกดการทำงานของต่อมหมวกไต
  • ยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาต้านเชื้อราชนิดกิน เป็นยาที่ต้องกินให้ครบตามที่แพทย์สั่ง ห้ามหยุดยานี้เองแม้อาการของโรคจะดีขึ้นแล้ว เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคและป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา
  • หากใช้ยาต้านเชื้อราชนิดทา: ควรทาบริเวณผิวหนังที่อยู่รอบๆ การติดเชื้อนั้นด้วย และทาต่อไปอีก 2 สัปดาห์หลังจากอาการของโรคหายเป็นปกติแล้ว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
  • ไม่ควรทา Whitfield’s ointment บริเวณที่มี แผลสด แผลมีหนอง เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย
  • ในขณะที่ป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า ควรสวมรองเท้าและถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ดี และขนาดพอดีกับเท้า ไม่รัดแน่นเกินไป ตัดเล็บเท้าให้สั้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้รองเท้า ถุงเท้า และผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • หากต้องเดินลุยน้ำบ่อยๆ ในฤดูฝน หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยตรงโดยการสวมรองเท้าบูท แต่ถ้าไม่สามารถเลี่ยงได้ ให้ล้างเท้าด้วยสบู่หรือน้ำสะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสกับน้ำสกปรกแล้วเช็ดเท้าให้แห้ง
  • เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และเด็ก ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  1. ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก ทำให้ผิวหนังที่สัมผัสยานี้มีอาการปวดแสบร้อน คัน ระคายเคือง ผิวแห้ง รูขุมขนอักเสบ สีผิวซีดจาง ผิวบาง ผิวลาย ขนดก อาการของโรคนี้รุนแรงขึ้น
  2. ยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาต้านเชื้อราชนิดกิน มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ทั่วไป คือ ทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ผื่นแพ้ยาเล็กน้อยถึงรุนแรง
  3. ยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เฉพาะที่ เช่น แสบร้อนบริเวณที่ทายา คัน แดง ผิวหนังแห้ง และผื่นแพ้ยาเล็กน้อยถึงรุนแรง
  4. ยาแก้แพ้ ทำให้เกิดอาการ ง่วงซึม ปวดศีรษะ ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก สับสน ใจสั่น
  5. Whitfield’s ointment ทำให้เกิดอาการ แสบ ระคายเคือง อักเสบ บริเวณที่ทายานี้