logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาฝังคุมกำเนิด

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาฝังคุมกำเนิด

ยาฝังคุมกำเนิด/ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive implant หรือ Implantable contraception) คือ วิธีหนึ่งในการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการฝังฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำเป็นแท่งเล็กๆ เข้าใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ของสตรี ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา นอกจากนี้ ฮอร์โมนนี้ยังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปได้ยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่  สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยมีโอกาสการตั้งครรภ์น้อยกว่า 1 ใน 100 ของสตรีที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด

  • สะดวกสบายเมื่อไปรับการคุมกำเนิดวิธีนี้ สามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา
  • ไม่ต้องกินยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน ลดโอกาสลืมกินยา หรือต้องไปฉีดยาคุมกำเนิดทุก 3 เดือน ลดโอกาสฉีดยาคลาดเคลื่อนไม่ตรงกำหนด
  • ไม่มีผลข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้อาเจียน เป็นฝ้า
  • เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง
  • ประจำเดือนกะปริบกะปรอย/เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงพบมากที่สุด
  • ไม่มีประจำเดือน หรือเกิดภาวะขาดประจำเดือน
  • อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
  • แผลที่ฝังยาเกิดการอักเสบ หรือมีรอยแผลเป็น
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ปวด/เจ็บเต้านม
  • มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท้องนอกมดลูก) หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น
  • อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
  • ผู้ที่ลืมกินยาบ่อยๆ รวมทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด
  • ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี
  • มีข้อห้ามในการใช้การคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น กำลังให้นมบุตร
  • มีโรคตับ: เพราะผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการ ตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้
  • มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามแพร่กระจาย
  • มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ที่ไม่ทราบสาเหตุ เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
  • มีภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวในภาวะเลือดออก
  • ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ลดโอกาสเกิดอาการซีดจากการมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ที่เกิดจากมีการหนาตัวมากของเยื่อบุโพรงมดลูก