logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาลดไข้

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาลดไข้

ยาลดไข้/ยาแก้ไข้ (Antipyretics) และยาแก้ปวด (Analgesic/Pain Killer) ปกติแล้วเรามักจะพูดรวมๆ กันทั้ง 2 ประเภท เนื่องจากยาในกลุ่มนี้มักมีฤทธิ์เป็นได้ทั้งยาลดไข้และยาแก้ปวดในตัวเอง

โดยยาลดไข้มักเป็นเพียงยาบรรเทาไข้ ช่วยให้ไข้ลง ไม่ใช่ยารักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ กล่าวคือ เมื่อกินยา 1 ครั้ง ยาจะออกฤทธิ์ลดไข้อยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมง หากสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ยังไม่หาย เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้ว ไข้ก็จะปรากฏใหม่ ก็ค่อยให้ยาใหม่

  • มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ แต่หากกินมากเกินขนาด จะทำให้มีไข้สูง ซึม ชัก และถึงตายได้ ปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยมใช้ในการลดไข้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากแอสไพรินมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนได้น้อยลง ปัจจุบันจึงได้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองและหัวใจ
  • เป็นยาที่ใช้กันมากสำหรับอาการปวดลดไข้ทั่วไป เนื่องจากราคาถูก (แก้ปวดระดับรุนแรงน้อยไปจนถึงระดับรุนแรงปานกลาง) มีข้อดีคือ ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร (สามารถกินพร้อมอาหารหรือขณะท้องว่างได้) และมักไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการแพ้ จึงเหมาะที่จะใช้แก้ปวดลดไข้ในผู้ที่มีโรคแผลในทางเดินอาหาร ผู้ที่แพ้ยากลุ่ม NSAIDs หรือในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก หรือเด็กเล็กที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส แต่หากกินขนาดสูง จะทำให้ตับถูกทำลายและเสียชีวิตจากตับล้มเหลวได้ ทั้งนี้ ในผู้ใหญ่ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 10 วัน และในเด็กไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 5 วัน ซึ่งควรให้ยาลดไข้ในเด็กเมื่อไข้สูงเท่านั้น โดยให้ในขนาดที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัว ห้ามให้ถี่กว่า 4 ชั่วโมง กรณีที่ให้ยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ควรให้เด็กดื่มน้ำมากๆ ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำประปาจนกว่าไข้จะลด

ผลไม่พึงประสงค์ของยาแอสไพริน คือ สามารถทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดภาวะกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร เป็นต้น

  • การกินยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานติดต่อกันเกิน 5 - 7 วัน หรือกินเกินขนาด (ขนาดปกติในผู้ใหญ่ที่ ไม่มีโรคประจำตัวคือ กินครั้งละ 1 - 2 เม็ด ทุก 6 - 8 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดพิษต่อตับ/ตับอักเสบ
  • การกินยาพาราเซตามอลร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลว/ตับวายได้
  • การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่ใช้ดูดซับพิษในกระเพาะ ลำไส้ อาจทำให้การดูดซึมของยาแอสไพรินเข้าสู่ร่างกายลดน้อยลง ยาดังกล่าว เช่น Activated Charcoal
  • การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะทำให้การดูดซึมยาแอสไพรินลดลง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกันกับยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น กลุ่มยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาต้านการอักเสบบางกลุ่มก็สามารถลดการดูดซึมของยาแอสไพรินได้เช่นเดียวกัน ยาดังกล่าว เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
  • การใช้ยาพาราเซตามอลร่วมกับยากดสมองส่วนกลาง/ยากดประสาทส่วนกลาง เช่น ยากันชัก หรือกินพร้อมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์จะเสริมฤทธิ์ความเป็นพิษต่อตับ และมีความเสี่ยงทำให้การทำงานของตับลดลง
  • การใช้ยาพาราเซตามอลร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยา วาร์ฟาริน (Warfarin) จะทำให้การจับตัวของเกล็ดเลือดลดลง จึงอาจลดประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือดลงได้