กระดานสุขภาพ

เรื่องค่าไต แบบนี้อันตรายมากไหม
Anonymous

26 กรกฎาคม 2562 15:00:02 #1

พ่อไปตรวจเลือดครั้งล่าสุดเมื่อวาน ผลออกมา Cretintine1.38 Egfr 54 ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปประมาณครั้งก่อนครั้งนี้วันที่ 12/12/61 พ่อไปตรวจเลือดครั้งล่าสุดเมื่อวาน ผลออกมา Cretintine1.08 Egfr 71 เห็นค่า egfr ลดลงเยอะมาก ในระยะเวลา 6 เดือนจนกังวลใจ ไม่ทราบว่าควรทำอย่างไรต่อครับ แล้วควรปฏิบัติตัวยังไงอันตรายมากไหม วันที่ 30 ตค หมอนัดตรวจ Cbc epo cretintine egfr อีกครั้ง ยังไงขอคำแนะนำด้วยนะครับ
อายุ: 62 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 67 กก. ส่วนสูง: 166ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.31 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

31 กรกฎาคม 2562 10:27:39 #2

ไตวายหรือไตล้มเหลว(Renal failure หรือKidney failure) คือภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงานจนไม่สามารถขับของเสียในร่างกายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะได้ไม่สามารถควบคุมสมดุลของน้ำและสมดุลของเกลื่อแร่ต่างๆโดยเฉพาะโซเดียม(Sodium) โปแตสเซียม(Potassium) แคลเซียมและฟอสฟอรัส(Phosphorus) ได้รวมทั้งไม่สามารถสร้างฮอร์โมนช่วยการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูกได้ผู้ป่วยที่มีไตวายจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการปลูกถ่ายไต

ไตวายมีสองแบบ(Type) ตามสาเหตุและระยะเวลาที่เกิดไตวายแต่อาการเมื่อเกิดไตวายจะเหมือนกันซึ่งทั้งสองลักษณะคือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง

ไตวายเฉียบพลันคือไตวายที่เกิดจากไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือ1-2 วันทั้งนี้โดยไม่เคยมีโรคของไตมาก่อนและโดยทั่วไปเมื่อได้รับการล้างไตและรักษาสาเหตุทันท่วงทีไตมักกลับฟื้นเป็นปกติแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดไตวายซ้ำได้อีกแต่ในบางคนไตจะค่อยๆเสื่อมลงกลายเป็นไตวายเรื้อรังได้ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุและ/หรือการรักษาที่ล่าช้า

ไตวายเรื้อรังคือไตวายที่มีสาเหตุเกิดจากโรคไตเรื้อรังโดยเป็นระยะสุดท้ายของโรคไตเรื้อรัง(End stage renal disease) โดยไตจะค่อยๆสูญเสียการทำงานไปเรื่อยๆในระยะเวลานานหลายเดือนหรือหลายปีขึ้นกับพยาธิสภาพของไตที่ได้เสียไปแล้วสาเหตุและการดูแลตนเองของผู้ป่วยทั้งนี้ไตวายเรื้อรังมักมีขนาดของไตเล็กลงจากมีพังผืดเกิดแทนที่เซลล์ไตปกติและไม่มีโอกาสที่ไตจะฟื้นตัวกลับมาปกติได้นอกจากนั้นยังมีโอกาสที่จะเกิดไตวายเฉียบพลันซ้ำซ้อนได้

ไตวายเฉียบพลันอาจเกิดจากเซลล์ไตสูญเสียการทำงานจากไตขาดเลือดหรือจากเกิดโรคต่อเซลล์ของไตโดยตรงหรือเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะจึงส่งผลให้ไตไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้

-การขาดเลือดของไตเช่นจากภาวะเลือดออกรุนแรงของอวัยวะต่างๆเช่นจากอุบัติเหตุจากภาวะขาดน้ำรุนแรงเช่นกินยาขับน้ำหรือท้องเสียรุนแรงจากภาวะหัวใจล้มเหลวจากความดันโลหิตต่ำจากสาเหตุต่างๆเช่นภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต(ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) การแพ้ยาแพ้อาหารจากภาวะตับวายจากภาวะช็อกและจากภาวะเลือดข้นผิดปกติเช่นโรคมีเม็ดเลือดแดงสูง

-โรคของเซลล์ไตโดยตรงเช่นจากการอักเสบรุนแรงของเซลล์ไตในโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองการได้รับสารพิษบางชนิดผลข้างเคียงจากยาบางชนิดหรือการกินยาเกินขนาดเช่นยาพาราเซตามอล(Paracetamol) การติดเชื้อรุนแรงของไตหรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ลุกลามเข้าไตและรวมถึงภาวะร่างกายต้านไตใหม่จากการปลูกถ่ายไต(Graft rejection)

-การอุดตันของทางเดินปัสสาวะเช่นจากโรคนิ่วในไตนิ่วในท่อไตนิ่วในกระเพาะปัสสาวะและจากการอุดตันของท่อปัสสาวะเช่นจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ลุกลามเข้าท่อปัสสาวะเป็นต้น

ไตวายเรื้อรังสาเหตุของไตวายเรื้อรังคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อยคือโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูงและจากโรคทางพันธุกรรมของไตที่พบได้น้อยเช่นโรคมีถุงน้ำมากมายในไต(Polycystic kidney disease)

แนวทางการรักษาไตวายคือการกำจัดของเสียออกจากร่างกายการรักษาสาเหตุและการรักษาประคับประคองตามอาการ

การกำจัดของเสียออกจากร่างกายคือการล้างไตซึ่งอาจเป็นการล้างไตผ่านทางหน้าท้องหรือการฟอกไตโดยการฟอกเลือดทั้งนี้ขึ้นกับขีดความสามารถของแต่ละโรงพยาบาล

การรักษาสาเหตุจะแตกต่างกันในแต่ละสาเหตุเช่นการรักษาโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองเมื่อสาเหตุคือโรคออโตอิมมูนการรักษาภาวะขาดน้ำเมื่อสาเหตุเกิดจากภาวะขาดน้ำหรือการให้เลือดเมื่อสาเหตุเกิดจากการเสียเลือดรุนแรงเป็นต้น

การรักษาประคับประคองตามอาการเช่นการให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้การให้ยาบรรเทาอาการคันและการทำกายภาพบำบัดกรณีเป็นตะคริวบ่อยหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นต้น

การดูแลตนเอง

เมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้ออาการควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอซึ่งในช่วงที่มีอาการไตวายการรักษาจะเป็นการรักษาในโรงพยาบาลผู้ป่วยจึงอยู่ในการดูแลรักษาจากแพทย์และพยาบาลแต่เมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วทั้งผู้ป่วยและครอบครัวควรต้องปฏิบัติตามแพทย์พยาบาลแนะนำอย่างถูกต้องและเคร่งครัดซึ่งโดยทั่วไปคือ

รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุ

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุที่สำคัญคือระมัดระวังการกินยาต่างๆอาหารสมุนไพรต่างๆเห็ดแปลกๆ

จำกัดน้ำดื่มและประเภทอาหารตามที่แพทย์พยาบาลแนะนำอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะอาหารเค็ม(เกลือโซเดียม/เกลือแกง) และเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง(เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)

กินยาต่างๆที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วนถูกต้องไม่ขาดยา

ออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายตามควรกับสุขภาพสม่ำเสมอ

รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพราะผู้ป่วยไตวายมักติดเชื้อได้ง่ายและเมื่อติดเชื้อมักเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง

พบแพทย์ตามนัดเสมอ

รีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือเมื่ออาการต่างๆเลวลง

การป้องกันไตวายคือการหลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุซึ่งที่สำคัญคือ

รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ

ไม่กินยาพร่ำเพื่อถ้าจะซื้อยากินเองต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ

ระมัดระวังการใช้สมุนไพรหรือการกินเห็ดที่ไม่รู้จัก

รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุโดยเฉพาะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูงและโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน

ระมัดระวังอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดการเสียเลือดรุนแรง

ตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะเพื่อคัดกรองการทำงานของไตในการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปีและเมื่อพบความผิดปกติต้องรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล