จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 382: - ทฤษฎีความฉลาดแบบหลายปัจจัย (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-01

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 382: - ทฤษฎีความฉลาดแบบหลายปัจจัย (2)

ทฤษฎีความฉลาด 3 ด้าน (Triarchic theory) ของสเติร์นเบิร์ก (Sternberg) กล่าวว่าความอัจฉริยะของคนเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน

ทฤษฎีความฉลาด 3 ด้านของสเติร์นเบิร์กแตกต่างกับทฤษฎีปัจจัย G (คะแนนจากแบบทดสอบ IQ) เพราะปัจจัย G วัดค่า IQ (= Intelligence quotient) ทั่วไป โดยการให้ความสำคัญกับความสามารถทางสติปัญญา

แต่ทฤษฎีของสเติร์นเบิร์กได้แบ่งประเภทของความอัจฉริยะ ออกเป็น 3 กระบวนการของเหตุและผล (อันได้แก่ การคิดวิเคราะห์, แก้ไขปัญหา, และความสามารถในเชิงปฏิบัติ)

ทฤษฎีของสเติร์นเบิร์ก ไม่ได้มีเพียงการวัดค่า IQ ทั่วไปเพื่อใช้ในการประเมินค่าสติปัญญาของคนเท่านั้น แต่เขาได้ประเมินค่าความอัจฉริยะของผู้คนจาก 3 ประเภทของกระบวนการใช้เหตุและผล

ข้อดีของทฤษฎีของสเติร์นเบิร์กก็คือ ไม่มีข้อจำกัดในการตีความหมายของความอัจฉริยะ ไปจนถึงความสามารถทางสติปัญญา เนื่องจากทฤษฎีนี้ประเมินค่าความอัจฉริยะในแต่ละบุคคลโดยมองถึงความสามารถที่แตกต่างกันของบุคคลนั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น บางคนอาจมีความสามารถด้านการปฏิบัติ แต่ไม่มีความสามารถที่จะทำคะแนนได้ดีในแบบทดสอบ IQ ทั่วไป

ข้อเสียของทฤษฎีสเติร์นเบิร์กก็คือ เขาได้พัฒนาบททดสอบทาง IQ เพียง 3 ประเภทของกระบวนการเหตุและผลโดยที่ความเป็นจริงอาจมีมากกว่านั้น

ปัจจุบันนักจิตวิทยาส่วนใหญ่คาดเดาว่าปัจจัย G เป็นการวัดค่าความอัจฉริยะทั่วไป ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถประเมินค่าโดยแบบทดสอบทางIQและแสดงให้เห็นผลลัพธ์ผ่านคะแนน

สาเหตุที่ทำให้แนวคิดของปัจจัย G ยังคงอยู่และเป็นที่รู้จักของผู้คนมากมาย เป็นเพราะงานวิจัยส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเข้าถึงจิตใจอันเป็นที่มาของการพัฒนาทฤษฎีปัจจัย G

นอกจากนั้นพื้นฐานของแบบทดสอบ IQ พิสูจน์ว่าเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพในการคาดเดาความสามารถของคน ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีการเรียนรู้ แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดี ภายใต้สภาวะแวดล้อมของการทำงาน

ทฤษฎีความอัจฉริยะของ ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) และสเติร์นเบิร์ก เป็นความพยายามเพื่อจะแทนที่การวัดค่าแบบปัจจัย Gหรือ ผ่านผลคะแนนของแบบทดสอบ IQ

ซึ่งทฤษฎีการเข้าถึงความอัจฉริยะภาพของ การ์ดเนอร์ และ สเติร์นเบิร์ก ได้ชี้แนวทางในการวัดค่าความสามารถและการใช้เหตุผลของความอัจฉริยะประเภทอื่น

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence, [2022, Septemer 3].
  3. Robert Sternberg - https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Sternberg, [2022, Septemer 3]
  4. G factor - https://en.wikipedia.org/wiki/G_factor_(psychometrics) [2022, Septemer 3].
  5. Howard Gardner - https://en.wikipedia.org/wiki/Howard_Gardner, [2022, September 3].