
12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 55
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 17 เมษายน 2568
- Tweet
การบริการหลังการขาย (Post-sales services) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เพื่อเพิ่มคุณค่า (Value-added) ของสินค้าและบริการ ซึ่งในทุกๆ ธุรกิจจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องบริหารกระบวนการนี้ให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากการรักษาฐานลูกค้า (Customer base) ที่มีอยู่ (Existing) มีต้นทุนที่น้อยกว่าการหา (Acquisition) ลูกค้าใหม่ ตัวอย่างการบริการหลังการขายของธุรกิจคลินิกเวชกรรมด้านความงาม (Aesthetics) และการชะลอวัย (Anti-aging) เช่น การนัดติดตามผล (Follow-up) การรักษา และการให้บริการปรึกษา (Consulting) หรือให้คำแนะนำ (Recommendation) ในการดูแลสุขภาพฟรี ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้สามารถสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ของลูกค้าได้ ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำ (Repeat)
กิจกรรมสนับสนุน (Support activities) การที่จะดำเนินกิจกรรมหลักที่กล่าวข้างต้น ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องมีกิจกรรมสนับสนุนเสริม ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 4 อย่าง ดังนี้
- โครงสร้างพื้นฐาน (Firm infrastructure) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไปในองค์กร โครงสร้างของ องค์กร, การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic management), การจัดทำระบบงาน (Work system) ต่างๆ เช่น การควบคุมคุณภาพ (Quality), ระบบบัญชีและการเงิน, เป็นต้น
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ที่สามารถวางระบบโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) องค์กรนั้นสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) และสรุปผลกระทบ (Impact) และสามารถตัดสินใจ (Decision-making) ทางธุรกิจได้ อย่างเหมาะสมและทันท่วงที (Timely)
คลินิกหลายๆ แห่ง ที่เจ้าของเป็นแพทย์จะให้ความสำคัญน้อย ต่อการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มีข้อจำกัด (Limitation) ในการวางแผนกลยุทธ์ในการแข่งขัน ส่งผลให้ต้องเลิกกิจการ (Liquidation) ไปในที่สุด เพราะไม่สามารถสร้างและรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage) ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human-resource management) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่ การสรรหา (Recruitment), การคัดเลือก (Selection), การฝึกอบรมและพัฒนา (Training and development), การยกระดับความรู้และทักษะ (Knowledge and skill enhancement)
นอกจากนี้ ยังมีการเลื่อนตำแหน่ง (Promotion), การกำหนดระบบการให้รางวัล (Rewarding) ที่เหมาะสม (Appropriate) เพื่อจูงใจในการทำงาน การสร้างสภาพแวดล้อม (Environment) ในการทำงานที่ดี เพื่อสร้างความพึงพอใจในงาน (Job satisfaction) แก่พนักงาน เป็นต้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า (Valuable) และเป็นประโยชน์ (Beneficial) มากที่สุด และมีความสำญมากที่สุดในการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ บุคลากรที่มีศักยภาพ (Potential) ย่อมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีศักยภาพ ในคราวเดียวกันด้วย (Simultaneously)
แหล่งข้อมูล –
- https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2025, April 16].
- https://globescan.com/ [2025, April 16].