
2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 56
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 เมษายน 2568
- Tweet
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รายงานในรายละเอียดว่า ธุรกิจที่คาดว่าจะได้อานิสงส์ (Benefit) จากการขยายตัว (Expansion) ของสังคมสูงวัย อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
- ธุรกิจที่เน้นด้านสุขภาพ ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Beverage) และธุรกิจการดูแลสุขภาพ (Healthcare) โดยการใช้จ่าย(Expenditure) ใน 2 หมวดนี้มีสัดส่วน (Proportion) รวมกันกว่า 37% ของการใช้จ่ายทั้งหมดของผู้สูงอายุ (Elderly) ซึ่งสูงกว่าการใช้จ่ายในหมวดเดียวกันของช่วงวัย Generation) อื่นๆ ราว 3%
ตัวเลขนี้ สอดคล้องไปกับผลสำรวจ (Survey) ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ พบว่าผู้สูงอายุไทยมีความสน (Interest) ใจซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ โดยคิดเป็นสัดส่วนราว 65% ของผู้สูงอายุที่ตอบแบบสำรวจ(Questionnaire) ทั้งหมด
สินค้าและบริการที่น่าจะเป็นโอกาส (Opportunity) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ศูนย์โรคเฉพาะทาง (Specialized), ยา (Drug), และเวชภัณฑ์ (Medical supplies), บริการดูแลผู้สูงอายุ (Nursing home และ Care-giver), ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical tourism) เป็นต้น
โดยมีปัจจัยหนุน (Supporting factor) จากกระแส (Trend) รักสุขภาพ และความเสี่ยงเจ็บป่วย (Sickness risk) ต่างๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง (Chronic) แบบไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases: NCDs) ของผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular), โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), โรคเบาหวาน (Diabetics), และโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
สำหรับในหมวดอาหาร ได้แก่ อาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ และอาหารทางการแพทย์ (Medical diet) แต่ทั้งนี้รูปแบบ ของอาหารควรเคี้ยวง่าย (Easily chewable), ย่อยง่าย (Easily digestible), มีขนาดที่พอเหมาะ และมีสารโภชนาการ (Nutrient) ครบถ้วน
- ธุรกิจอื่นๆ ที่ตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิต (Life style) ของผู้สูงอายุ คิดเป็นสัดส่วนราว 63% ของการใช้จ่ายทั้งหมดของผู้สูงอายุ ซึ่งการใช้จ่ายต่อครั้งจะมีมูลค่าสูง แต่มีความถี่ (Frequency) ในการใช้จ่ายน้อยกว่าการบริโภค (Consumption) สินค้าในกลุ่มแรก (อาหารและสุขภาพ) โดยทั่วไป (General) ธุรกิจในกลุ่มที่ 2 ได้แก่
- ธุรกิจนวัตกรรมต่างๆ (Innovation) โดยเฉพาะกลุ่มอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน (Smart home device) เช่น ระบบสั่งการด้วยเสียง (Voice control), อุปกรณ์แจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ (Accident notification) ในบ้าน, และกล้องติดตามการเคลื่อนไหว (Closed circuit television: CCTV)
อุปกรณ์ดังกล่าว ต้องมีการใช้งาน (Function) ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน (Complicated), มีจอแสดงผล (Monitor) ที่ใหญ่เพื่อง่ายต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังรวมถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือ (Assistive) ในชีวิตประจำวัน (Routine) ให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น ไม้เท้าอัจฉริยะ (Smart walker), เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) เป็นต้น
แหล่งข้อมูล –