2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 58

  1. ตลาดแข่งขันรุนแรง (Fierce competition) เพื่อแย่งชิงลูกค้าที่มีศักยภาพ (Potential) แม้ตลาดผู้สูงอายุ (Elderly market) จะมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น (Accelerate) แต่ในช่วง 2 - 3 ปีแรกของการเจาะตลาด (Market penetration) ผู้สูงอายุ ขนาดตลาด (Market size) จะยังไม่ใหญ่มากตามจำนวนผู้สูงอายุไทย

ประชากร (Population) ไทย คาดว่าจะอยู่ที่ราว (Approximately) 23% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และส่วนมากเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย ส่งผลต่อกำลังซื้อ (Purchasing power) ที่จำกัด ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีรายได้สูงส่วนมาก พบว่ามักกระจุกตัว (Concentrate) อยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ และภาคกลาง

ดังนั้น ธุรกิจที่จะเข้ามาเป็นผู้เล่น (Player) ในตลาดนี้ อาจต้องเผชิญกับการแย่งชิง (Usurp) ส่วนแบ่งตลาด (Market share) ที่เข้มข้น (Intensive) จากคู่แข่งทั้งในประเทศ (Domestic competitor) และต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน และญี่ปุ่น

นอกจากการปรับตัว (Adaptation) ของธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุแล้ว อีกหนึ่งประเด็น (Issue) ที่ต้องคำนึงถึง (Address)) คือ การเล็ง (Aim) กลยุทธ์การตลาด (Marketing strategy) ไปที่ลูกหลาน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผู้ตัดสินใจ (Decision-maker) ซื้อสินค้าและบริการแทนผู้สูงอายุ โดยเน้นที่ คุณภาพ/มาตรฐาน (Quality/standard) ของสินค้าและบริการ รวมถึงความคุ้มค่าด้านราคา (Cost-effective) เป็นหลัก

  1. ธุรกิจมีต้นทุนในการปรับตัว รองรับ (Accommodate) สังคมสูงวัย นอกเหนือจากต้นทุนหลักที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (Rising trend) โดยช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่าน (Transition) ธุรกิจจะมีต้นทุนส่วนเพิ่มจาก การปรับสายการผลิต (Production line) และพัฒนารูปแบบสินค้า (Product development) ให้ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ 

ตัวอย่างเช่น สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Beverage) ก็อาจต้องเพิ่มสารอาหาร (Nutrient) ที่เหมาะสมกับวัยและโรคของผู้สูงอายุ และปรับบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ให้ใช้เปิด-ปิดง่าย เป็นต้น รวมถึงบางธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น (Labor-intensive) ในภาคเกษตร (Agriculture), การผลิต (Manufacture), และการค้า (Trading) ที่อาจต้องมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน (Labor shortage) ที่จะรุนแรง (Severe) ในระยะข้างหน้า

การปรับตัว (Adaptation) ดังกล่าวจะยิ่งมีความยากลำบาก สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงกลาง (Small and medium-sized enterprises: SME ที่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน (Capital limitation) ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหมด ราว 3.18 ล้านราย

ในจำนวนนี้ ธุรกิจที่มีสัดส่วน SMEs สูง ได้แก่ ค้าส่ง/ค้าปลีก (Wholesale/Retail), การผลิต, ก่อสร้าง (Construction) และธุรกิจการเกษตร คิดเป็นสัดส่วน (Proportion) รวมกันราว 63% ของจำนวน SMEs ทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มเผชิญ (Confront) แรงกดดันด้านต้นทุน (Cost pressure) เพิ่มขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. file:///C:/Users/user/Downloads/CI3511.pdf [2025, May 18].
  2. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Elderly-Spending-CIS3511-FB-2024-07-10.aspx [2025, May 18].