
3. ตลาดยา – ตอนที่ 56
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 22 เมษายน 2568
- Tweet
ทั้งจากปัญหาในครัวเรือน (Household) ที่อยู่ในระดับสูง, ค่าครองชีพ (Cost of living) ที่ปรับเพิ่มขึ้น, ความล่าช้า (Delay) ของมาตรการกระตุ้น (Stimulation measure) เศรษฐกิจ จากความผันผวน (Uncertainty) ทางการเมือง, ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) ที่ระมัดระวังการใช้จ่าย (Cautious spending) มากขึ้น
ปัจจัย (Factor) เหล่านี้ ส่งผลให้มีการชะลอ (Delay) การซื้อยาที่ไม่จำเป็นและหันมาเน้นการป้องกัน (Prevention) เพื่อลดค่าใช้จ่าย (Spending reduction) จากการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น (Fierce competition) จากการนำเข้า (Import) ยาราคาถูกโดยเฉพาะ จากอินเดียและจีน
รวมถึงการปรับเปลี่ยน (Adjustment) นโยบายการจัดซื้อ (Procurement policy) ยาของภาครัฐที่เน้นการประหยัดงบประมาณ (Budget savings) มากขึ้น ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ปริมาณ (Voume) การจำหน่ายยาภายในประเทศ (Domestic) ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (Significantly)
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้เริ่มดำเนินมาตรการกระตุ้นการบริโภค (Consumption) ภายในประเทศผ่านโครงการ (Program) ต่างๆ เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (State welfare card) และ โครงการรับยาที่ร้านขายยา (Drug store) เพื่อลดความแออัด (Congestion) ในโรงพยาบาล
คาดว่าวิธีการ (Approach) ดังกล่าว จะช่วยกระตุ้นการจำหน่ายยา ผ่านร้านขายยาให้ฟื้นตัว (Recover) ดีขึ้น นอกจากนี้ แนวโน้ม(Trend) การขยายตัวดีต่อเนื่อง (Continuous expansion) ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการเติบโต (Growth) ของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) ก็น่าจะเป็นปัจจัยบวก (Favorable) ที่ช่วยสนับสนุนให้ความต้องการ (Demand) บริโภคยาในประเทศ (Domestic) กลับมาขยายตัวได้ในระยะถัดไป
ในสถานการณ์ (Situation) ด้านตลาดต่างประเทศ จากข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศ (International trade) ของกระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) พบว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2567 ไทยมีมูลค่า (Value) การนำเข้า (Import) และส่งออก (Export) ยาลดลง
โดยรวม (Overall) มูลค่าการนำเข้าปรับลดลงจากปีก่อน 7.5% อยู่ที่ 2,048 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 67,584 ล้านบาท) ขณะที่มูลค่าการส่งออกหดตัว (Shrink) จากปีก่อน 1.0% อยู่ที่ 355 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,715 ล้านบาท)
สำหรับมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงมีสาเหตุสำคัญ (Major cause) จากหลายปัจจัย อันได้แก่ ความต้องการใช้ยาในประเทศที่ชะลอตามภาวะกำลังซื้อ (Purchasing power) ที่อ่อนแอ ทั้งจากปัญหาหนี้ครัวเรือน (Household debt) สูงและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการปรับเปลี่ยนนโยบายการจัดซื้อยาของภาครัฐที่เน้นการประหยัดงบประมาณมากขึ้น
จึงส่งผลให้ผู้นำเข้ามีการชะลอคำสั่งซื้อเพื่อระบาย (Deplete) สต็อกเดิม โดยเฉพาะการชะลอการนำเข้าจากประเทศเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ที่มีราคายาค่อนข้างสูง (Expensive) ขณะเดียวกันก็หันไปเพิ่มนำเข้าจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่าอย่างอินเดียและจีน
แหล่งข้อมูล –