
3. ตลาดยา – ตอนที่ 59
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 มิถุนายน 2568
- Tweet
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา รายงานว่า อุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical industry) มีแนวโน้มเติบโต (Growth trend) ได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าปี พ.ศ. 2568 ถึง พ.ศ. 2570 มูลค่าตลาด (Market value) ยาในประเทศ (Domestic) จะขยายตัว (Expand) เฉลี่ย 6.0 ถึง 7.0% ต่อปี
ทั้งนี้ โดยมีปัจจัยหนุนจากจำนวนผู้ป่วย (Patient) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากโรคติดต่อ (Chronic) ที่ต้องเฝ้าระวัง (Surveillance) และโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases: NCDs) แบบเรื้อรัง, การเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging) และอุบัติซ้ำ (Re-emerging), และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate change)
นอกจากนี้ การเข้าถึง (Access) ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal coverage) โดยเฉพาะสิทธิบัตรทอง (Gold card) ทำให้ผู้เจ็บป่วยสามารถเข้าถึงยา (Drug) และเวชภัณฑ์ (Medical supplies) ได้สะดวกขึ้น
อย่างไรก็ตามความท้าทาย (Challenge) ของอุตสาหกรรม มาจากการที่ผู้ผลิตยาของไทยขาดศักยภาพ (Potential) ในการผลิตยาที่ซับซ้อน (Complex) หรือยาที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง (Advanced technology) รวมถึงภาระต้นทุน (Cost) ที่จะเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุง (Renovation) โรงงานตามมาตรฐานโลก (Global standard)
การลงทุน (Investment) พัฒนานวัตกรรม (Innovation) หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต (Manufacturing process) ยาเพื่อจัดการการปล่อย (Release) ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) ตามแนวทางของผู้ประกอบการทั่วโลก (Worldwide entrepreneur) โดยทิศทาง (Direction) การเติบโตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยา มีดังนี้
- ผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน – รายได้เติบโต (Revenue growth) ต่อเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น (Increasing trend) ขณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึง (Access) ยาได้มากขึ้นผ่านระบบประกันสุขภาพ (Health insurance) ของภาครัฐ ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ผลิตที่จำหน่ายยาผ่านโรงพยาบาล โดยเฉพาะยาจดสิทธิบัตร (Patent) และวัคซีน
นอกจากนี้ ร้านขายยามีบทบาท (Role) ในการกระจายยา (Drug distribution) เพิ่มขึ้นตามมาตรการรัฐ (Government measure) อย่างไรก็ตาม การแข่งขัน (Competition) ของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มรุนแรง (Fierce) ขึ้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่จากต่างชาติ (Foreign new-comer) ซึ่งมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและเงินทุน (Capital) มากกว่า
รวมถึงภาระต้นทุนที่จะสูงขึ้นต่อเนื่องจากราคาวัตถุดิบยา (Raw material) นำเข้า และการปรับกระบวนการผลิต เพื่อลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม (Environmental pollution) จึงเป็นข้อจำกัด (Limitation) ในการทำกำไร (Profitability) ของผู้ประกอบการ
- ผู้จำหน่ายเภสัชภัณฑ์ (ร้านค้าปลีก/ร้านค้าส่ง) – รายได้มีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอาจเผชิญ (Confront) แรงกดดัน (Pressure) จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ดังนี้
แหล่งข้อมูล –