8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 27

กลุ่มอาการในสำนักงาน (Office syndrome) เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อ (Muscle) บางส่วนซ้ำๆ (Repetitive) ในขณะทำงานที่ใช้ท่า (Posture) ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (Unhealthy) ในสภาพแวดล้อมทำงานที่ไม่เหมาะสม (Inappropriate) ตัวอย่างเช่น ความสูงของโต๊ะ (Table height) หรือ ตำแหน่ง (Position) คอมพิวเตอร์และแป้นพิมพ์ (Key-board) ที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดท่านั่งที่ไม่ธรรมชาติ (Un-natural)

ยิ่งไปกว่านั้น การที่หลังงอ (Slouch) หรือการโน้มตัว (Hunch) โดยเอนไหล่ไปด้านหน้า ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว (Contract) อย่างต่อเนื่อง (Constant) ส่งผลให้กล้ามเนื้อแกน (Core) อ่อนแอและเพิ่มความตึง (Tension) ในกลุ่มกล้ามเนื้ออื่นๆ ตามมา สาเหตุอื่นๆ อาจรวมถึงความเครียดหนัก (Excessive stress) และการนอนไม่เพียงพอ (Insufficient sleep)

นอกจากนี้ ความผิดปกติทางสรีระ (Physiological abnormality) เช่น การไม่สมดุล (Imbalance) ของกล้ามเนื้อและ ความผิดปรกติของกระดูกสันหลัง (Spinal deformity) ก็อาจเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการในสำนักงานได้

กลุ่มอาการในสำนักงานสามารถป้องกัน (Prevent) ได้ง่ายๆ โดยการปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Recommendation) เหล่านี้:

  1. การยศาสตร์ (Ergonomics) และสภาพแวดล้อมทำงานที่ดี (Friendly working environment) เมาส์และแป้นพิมพ์ (Key board) ควรอยู่ตรงหน้าผู้ใช้งานในระยะที่สบาย (Comfortable distance), แขนควรได้รับการรองรับ (Support) ที่ถูกต้อง หน้าจอ (Screen) คอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างจากผู้ใช้งานในระยะช่วงแขน (Arm’s length) และตรงกับระดับสายตา (Line of sight) หรือต่ำกว่านั้นเล็กน้อย การจัดแสง (Lighting) ที่เหมาะสม (Appropriate) สามารถลดความเหนื่อยล้า (Fatigue) ของตาและปวดหัว (Head-ache) การนั่งที่อยู่ข้างๆ หน้าต่างสำนักงาน อาจช่วยเพิ่มการตื่นตัว (Alertness) ของผู้ใช้งาน และการได้รับแสงสว่าง (Light exposure) สามารถช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และควบคุม (Regulate) ระบบการนอนของคุณ
  2. ท่านั่งที่ถูกต้อง ควรรักษาท่านั่งที่ถูกต้องโดยการนั่งตัวตรง (Straight), อกผายไหล่ผึ่ง, คางพับ (Chin tucked), ยืด (Elongate) กระดูกหลัง, และให้ต้นขาพับขนาน (Parallel) ไปกับพื้น เข่างอ (Flexion) ไม่ควรเกิน 90 องศา. หากเท้าไม่สามารถแตะพื้น ให้ใช้สิ่งรองสนับสนุน (Foot support) ได้
  3. ปรับท่านั่งบ่อยๆ ควรเปลี่ยนท่านั้นทุกๆ 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความเหนื่อยล้า (Fatigue) ของกล้ามเนื้อและหลังงอ (Slouch) ในเวลาต่อมา (Subsequent) ผู้ใช้งานยังสามารถเปลี่ยนมุม (Angle) ของเก้าอี้ และหลีกเลี่ยงการนั่งไหล่ขอบของเก้าอี้ ระหว่างวัน ควรหยุดพักสั้นๆ (Break) เพื่อพัก (Rest) สายตา และยืดตัว (Stretch) หรือเดินช่วงสั้น
  4. ออกกำลังกายเสมอ เพื่อคลายความตึงของกล้ามเนื้อบางส่วนซ้ำๆ การออกกำลังกายมีความสำคัญ เพราะสามารถยืด และเพิ่มความแข็งแกร่ง (Strengthen) ให้กลุ่มกล้ามเนื้อแกน รวมทั้งปรับท่านั่ง (Sitting posture) ได้ถูกต้อง

แหล่งข้อมูล -

  1. https://www.thaipost.net/economy-news/408207/ [2024, February 29].
  2. https://www.bangkokhospital.com/en/content/work-from-home-and-office-syndrome [2024, February 29].