
6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 56
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 25 เมษายน 2568
- Tweet
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของแผนธุรกิจศูนย์ห้องปฏิบัติการเพื่อการแพทย์สมัยใหม่ โรคที่ได้รับความนิยม (Popularity) ในการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แม่นยำแบบจำเพาะบุคคล ได้แก่ โรคมะเร็ง (Oncology), โรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ (Central nervous system disorders), และโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน (Immunology)
ทั้งหมดนี้ เป็นโรคที่มีอัตราการเกิดโรค (Incidence rate) และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล (Treatment cost) สูง อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิต (Major cause of death) ของประชากร (Population) โดยแพทย์เลือกใช้วิธีที่ดีที่สุดบนพื้นฐานของพันธุกรรม ในแต่ละคน (Individualized genetics)
โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับยา (Drug) เป็นการตรวจ (Diagnosis) ให้รู้ว่าคนคนนั้น มีความผิดปกติ (Disorder) ทางพันธุกรรมที่จะส่งผลให้ (Affect) ร่างกายของเขาตอบสนอง (Respond) ต่อยาบางชนิดมากหรือน้อยกว่าคนทั่วไปหรือไม่ เพื่อให้แพทย์ ปรับเปลี่ยน (Adjust) ชนิดและขนาด (Dose) ยาให้เหมาะสมกับคนไข้ต่อไป)
โดยแพทย์สามารถพยากรณ์โรค (Prognosis) ว่าคนไข้จะมีการตอบสนองอย่างไรต่อการรักษา ด้วยการวิเคราะห์ความแตกต่าง (Variance analysis) ทางพันธุกรรมในยีน (Gene) ที่ควบคุมการออกฤทธิ์ (Action) ของยา การตรวจวิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมนั้นมีหลายแบบ โดยการนำเทคโนโลยี การเรียงลำดับของชั่วอายุคนถัดไป (Next-Generation Sequencing: NGS)
NGS เป็นเทคโนโลยีการถอดรหัส (Decoding) ทางพันธุกรรมที่นำมาใช้ อันได้แก่ การตรวจรหัสพันธุกรรมที่สำคัญทั้งหมดในร่างกาย (Whole genome sequencing: WGS) และการตรวจกระบวนการแปลรหัสเป็นโปรตีน (Whole exome sequencing: Wes) ทั้ง 2 ได้เข้ามามีบทบาท (Role) ทางการแพทย์หลายสาขาวิชา
ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการวินิจฉัย, การดูแลรักษา, การป้องกัน (Prevention) และการส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) สำหรับการตรวจ NGS นั้น เมื่อร่วมกับการประมวลผลขั้นสูงทางคอมพิวเตอร์ (Advanced computing processing) จะสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง (Accurate) และแม่นยำ (Precise) มากขึ้น
ผล (Result) จากความสามารถในการพยากรณ์ ว่าคนไข้จะมีการตอบสนองอย่างไรต่อการยา ทำให้คนไข้มีโอกาสได้รับยา ที่ “เหมาะสม” (Appropriate) กับตัวเองมากขึ้น ประสิทธิผล (Effectiveness) ในการรักษาก็ย่อมเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งจะช่วยลด ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ (Healthcare expenditure), ทุ่นเวลาการรักษา (Time saving), ลดอาการข้างเคียง (Side effect) ที่อาจเกิดขึ้นจากยา, และลดการได้รับยามากเกิน (Overdose) ความจำเป็นลงได้
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยีนยังช่วยให้นักวิจัย (Researcher) สามารถค้นพบ (Discover) ยาที่มีประสิทธิผลชนิดใหม่ เช่น ยาต้านมะเร็ง (Cancer) ได้ ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจและได้การนำความรู้ด้านการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) มาใช้ในการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคมะเร็งด้วยความมุ่งหวังผลการรักษา ที่มีประสิทธิผลมากกว่าการรักษาแบบเดิม (Traditional)
โดยในภาครัฐจะเน้นไปที่ ความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างหน่วยงานในการศึกษาและพัฒนาโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แม่นยำ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ (Body of knowledge) และสามารถถ่ายทอด (Disseminate) ผลงานวิจัย
แหล่งข้อมูล –