6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 26

อุปสรรคทางธุรกิจ

ความก้าวหน้า (Advancement) ทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ อาจเป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจได้ เนื่องจากอาจมีการพัฒนาวิธีการตรวจ (Test method) ด้วยเครื่องมืออัตโนมัติ (Automation) ที่สามารถรายงานผลการทดสอบที่รวดเร็ว (Rapid) และราคาถูกกว่า (Cost-effective)

นโยบายการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล (Reimbursement) จากกรมบัญชีกลาง (Comptroller General’s Department) ได้กำหนดรายการทดสอบ (Test list) ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory) ที่สามารถเบิกจ่ายได้ แต่หากไม่อยู่ในรายการนี้ ผู้ป่วยก็จะไม่สามารถเบิกจ่ายได้

ผลที่ตามมา (Consequence) ของประเด็น (Issue) นี้ ก็คืออาจทำให้แพทย์ผู้ให้การรักษา ไม่เลือกวิธีการทดสอบใหม่ที่มิได้ระบุ (Indicate) ไว้ในรายการดังกล่าว อันเป็นผลเสีย (Disadvantage) ต่อการดำเนินธุรกิจ ที่มิได้อยู่ในรายการการเบิกจ่ายของกรมบัญชีกลางนี้ได้

จากข้อมูลจากลูกค้าโรงพยาบาลระดับจังหวัด (Provincial hospital) ตามภูมิภาค ในประเทศไทยพบว่า นโยบายการลดค่าใช้จ่ายจากกระทรวงสาธารณสุข (Public Health Ministry ในปัจจุบัน ได้มีการกำหนดให้ห้องปฏิบัติการลดค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ลงอย่างน้อย 10% ทำให้การดำเนินการทดสอบใดๆ ที่มีต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จะถูกตัดออกไปจากรายชื่อ

ดังนั้น การทำตลาด (Marketing) ตามราคาต้นทุนที่ค่อนข้างสูง (Costly) เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น จากข้อมูลจากการสอบถามแพทย์ในโรงพยาบาล พบว่า แนวทางปฏิบัติในการรักษา แพทย์ที่จะเลือกใช้การตรวจวิเคราะห์ทางด้านโมเลกุลวิทยา (Molecular diagnosis) ยังรู้สึกว่า เป็นการทดสอบที่มีราคาแพง (Expensive) และไม่จำเป็น (Unnecessary)

ถึงแม้จะมีความไว (Sensitivity) กว่าการทดสอบโดยวิธีการปกติ (Conventional) แต่การให้การรักษาโรคติดเชื้อ (Infectious disease) บางชนิดสามารถรอได้ ดังนั้น จึงอาจเป็นอุปสรรคในการด าเนินธุรกิจนี้ได้

จุดแข็งขององค์กร

เนื่องจากบริษัท ได้มีการดำเนินธุรกิจ (Business operation) ทางด้านห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Micro-biology) มาเป็นเวลานานกวา่ 30 ปี ในประเทศไทย ฐานลูกค้า (Customer base) ทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาค่อนข้างครอบคลุมและสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target group) ได้รวดเร็ว

ยิ่งกว่านั้น บริษัทสามารถใช้สายสัมพันธ์ (Relationship) เดิมเข้าแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด (Market share) ของสินค้ากลุ่มนี้ได้อยางรวดเร็ว นอกจากนี้ การที่เป็นบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง (Product owner) ทำให้มีความได้เปรียบ (Competitive advantage) ทางด้านต้นทุนการวิจัยและพัฒนา (Research and development: R&D) และการให้บริการทางด้านข้อมูลแก่ลูกค้าที่มากกว่า ซึ่งมีข้อมูล มิใช่แต่เพียงในประเทศเท่านั้น ยังสามารถแบ่งปัน (Share) ข้อมูลจากต่างประเทศทั่วโลกให้แก่ลูกค้าได้

แหล่งข้อมูล

  1. file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2024, February 13].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/SWOT_analysis [2024, February 13].