6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 58

  1. ให้บริการการตรวจระดับพันธุกรรม (DNA [= Deoxyribonucleic acidเป็นสารพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป]) ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อวางแผนการรักษา (Treatment planning) ช่วยในการวินิจฉัย (Diagnosis) โรคได้อย่างถูกต้อง (Accurate) และแม่นยำ (Precise) มากขึ้น

ผลจากความสามารถในการพยากรณ์ว่าคนไข้ จะมีการตอบสนอง (Reaction) อย่างไรต่อยาที่ได้รับ ทำให้คนไข้มีโอกาส (Chance) ได้รับยาที่เหมาะสม (Appropriate) กับตัวเองมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิผล (Effectiveness) ในการรักษา

ยกตัวอย่างเช่น การนำมาใช้ในการวางแผน (Planning) การรักษาโรคมะเร็ง (Oncology) แบบเฉพาะเจาะจงให้ผู้ป่วยแต่ละราย (Individualized) เพื่อรักษาต้นเหตุของโรคอย่างแม่นยำและตรงจุด (Target)

การตรวจเพื่อการป้องกัน (Prevention) ตนเองลึกถึงระดับ DNA จะช่วยให้ดูแลสุขภาพ (Healthcare) ได้อย่างตรงจุด  โดยสามารถปรับวิถีการใช้ชีวิต (Life style) ให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน (Sustainable)

การตรวจ DNA จะทำให้ทราบถึงความเสี่ยง (Risk) หรือโอกาสที่จะเกิดโรค, การรับรู้ความเสียงตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) การใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น หากการวิเคราะห์ DNA แล้วพบว่า ร่างกายสลายคาเฟอีน (Caffeine) ได้ช้ากว่าคนทั่วไป คาเฟอีนที่ตกค้างอยู่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

ตัวอย่างเช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (Heart disease) เมื่อทราบถึงความเสี่ยงนี้แล้ว ก็สามารถเลือกที่จะจำกัดปริมาณ (Quantity) คาเฟอีนที่ได้รับในแต่ละวัน หรือเลือกดื่มกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน (Decaffeinated coffee) แทนเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว

ในกรณีผู้ที่ไม่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็ง แต่ตรวจพบยีน BRCA 1/2 (= กลุ่มยีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอก) จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม (Breast) และมะเร็งรังไข่ (Ovarian) สูงกว่าคนทั่วไป

การได้ข้อมูลในระดับพันธุกรรมนี้ มีผลอย่างยิ่งต่อการวางแผนเฝ้าระวัง (Alert), ติดตาม (Monitor), และ ป้องกัน เช่น แพทย์อาจแนะนำมาตรวจเต้านมบ่อยขึ้น หรือในบางรายอาจแนะนำให้ตัดเต้านมหรือรังไข่ออก เป็นต้น

  1. ให้บริการคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ด้านรหัสพันธุกรรม โดยจะมีกลุ่มตัวอย่าง (Specimen) ที่มากพอสำหรับเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ของรหัสพันธุกรรม ดังนั้น จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของประชากรได้ละเอียดมากขึ้น 

โดยสามารถจำแนกเป็นช่วงอายุ (Age), เพศ (Gender), และเชื้อชาติ (Race) รายประเทศ ทำให้สามารถต่อยอดการบริการข้อมูลรหัสพันธุกรรมในทางการแพทย์ได้

ส่วนทรัพยากรการหลัก (Key Resources: KR) นั้น ได้แก่

แหล่งข้อมูล

  1. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2021/TU_2021_6302010043_14889_17803.pdf [2025, May 22].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2025, May 22].