5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 62

  1. วิถีชีวิตบำบัด หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle medicine)การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) การใช้ชีวิตประจำวัน (Routine) โดยการร่วมมือระหว่างแพทย์และคนไข้ ตั้งแต่การรับประทานอาหาร (Diet), การออกกำลังกาย (Exercise), การจัดการความเครียด (Stress), การนอนหลับ, และการเลิกสูบบุหรี่ Smoking cessation)

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยการเข้าสังคม (Socialization) เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion), การป้องกัน (Prevention), หรือกระทั่งรักษา (Treatment) โรค ซึ่งเป็นการบำบัด (Therapy) ที่สาเหตุรากเหล้า (Root cause) ถือเป็นการบำบัดแบบใหม่ที่สามารถป้องกัน, ลดความเสี่ยง (Risk), และลดการใช้ยา (Medication) ลงได้

ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน (Sustainable) โดย Lifestyle medicine กำลังเป็นแนวโน้ม (Trend) ที่ผู้คนให้ความสนใจ (Interest) และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวัตถุดิบ (Raw materials) จากสารสกัดจากธรรมชาติ (Natural extracts) ได้รับความสนใจไปพร้อมๆ กัน

  1. ราคายา (Drug) แผนปัจจุบัน (Modern medicine) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นปีละประมาณ10% ตามราคาต้นทุน (Cost) วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น 10% ถึง 20% ส่งผลให้การหันมาปรับพฤติกรรมการกิน ผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น น้ำมันงาดำ (Black sesame oil) และน้ำมันรำข้าว (Rice bran oil)

นอกจากนี้ ยังรวมถึงอาหารพิเศษเฉพาะ (Superfood) ที่ให้พลังงานสูง เช่น ไข่ผำ (Wolffia) เป็นต้น โดยการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive) จะทำให้ลด (Reduce) การใช้ยาหรือใช้ยา (Medication) เมื่อจำเป็น (Necessary) เท่านั้น

  1. การเข้าถึง (Access) บริการด้านสาธารณสุข (Public health) ที่ใช้เวลานานขึ้นทำให้ผู้คนเริ่มหันมาดูแลตัวเอง (Self-care) แม้ว่าจะมีกำลังซื้อ (Purchasing power) ในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ (Medical service) แต่ไม่ต้องการเสียเวลาในการรอคอย (Waiting time) เพื่อเข้าถึงบริการ จึงเป็นอีกปัจจัย (Factor) หนึ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม (Food supplement) เพื่อสุขภาพเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

จากปัจจัยสนับสนุนทั้ง 3 ด้านนี้ JSP คาดว่า (Forecast) ปี พ.ศ. 2568 ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ จะเติบโตประมาณ 10% ถึง15% นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนวัยทำงาน (Working force) อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เริ่มให้ความสำคัญกับการเลือกหา (Selection) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

จากเดิมที่พบว่ายอดขาย (Sales revenue) ส่วนมากจะมาจากกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จึงทำให้ตลาดขยายตัว (Expand) ไปสู่กลุ่มคนรุ่น (Generation) ใหม่มากขึ้น และคาดว่าภายใน 5 ปี สัดส่วน (Proportion) ยอดขายในกลุ่มวัยทำงานจะเติบโตเทียบเท่ากลุ่มวัย 60 ปีขึ้นไป หรือผู้สูงวัย (Elderly)

แหล่งข้อมูล

  1. https://marketeeronline.co/archives/394467?fbclid=IwY2xjawKvdsdleHRuA2FlbQIxMABicmlkETFhcmpGNTRwSkx5VmVGSjh4AR7JP744dZTLrSq7WDNzBxCZT62QnTOKuXJPEwZUYASvYZ4eh_oQiKsx175QUA_aem_5s568zzrXCmiqPfQChjN3g [2025, July 16].
  2. https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2025, July 16].