4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 56

นอกจากนี้ การจัดการทุน (Capital) ยังเป็นการแยกส่วน โดยแบ่งการให้ทุนออกเป็น 3 หน่วยงาน กล่าวคือ  หน่วยงานบริหารทุนเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (บพข), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency: NIA), และศูนย์แห่งความเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (Thailand Center of Excellence for Life Sciences: TCELS)

หลักเกณฑ์ (Criteria) การให้ทุน เป็นไปตามพัฒนาการของระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี (Technology Readiness  Level: TRL) ทำให้การส่งต่องานวิจัยไม่ต่อเนื่อง (Interrupted) ส่งผลให้มีงานวิจัยที่ผ่านไปจนถึงการออกสู่ตลาด (Market launch) มีจำนวนไม่มาก

จากข้อมูลพบว่า ในผลงานวิจัย (Research work) จำนวน 106 รายการ มีเพียง 19 รายการที่ผลิตภัณฑ์ผ่านมาตรฐานสถานที่ผลิต (Production facility) และมาตรฐานสินค้า (Product) นอกจากนี้ สินค้า 47 รายการที่ขึ้นอยู่่ในบัญชี (Registered) นวัตกรรม มียอดขาย (Sales revenue) เฉลี่ยเพียงปีละ 120 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่ายอดขายของกลุ่มยาเป็นอย่างมาก

4. การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน เครื่องมือแพทย์ (Medical device) เป็นอุตสาหกรรมที่แข่งขันกันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบนิเวศ (Eco-system) นวัตกรรม กล่าวคือการสร้างสภาพแวดล้อม (Environment) ที่เอื้อต่อ (Facilitate) การสร้างนวัตกรรม โดยผู้เล่นในประเทศ (Domestic player)ระบบนิเวศนวัตกรรมที่ดี จะต้องเอื้อให้เกิดการสะสมทุนกายภาพ (Physical capital accumulation), องค์ความรู้ (Body of knowledge) และ ทุนมนุษย์ (Human capital) ของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) จนสามารถสร้างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมขึ้นได้เองภายในประเทศ

การแทรกแซง (Intervention) ของรัฐในระบบนิเวศนวัตกรรมจะมุ่งไปที่

1. การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างหน่วยผลิต (Production unit), ความรู้ (Knowledge) เช่น มหาวิทยาลัย, สถาบันวิจัย (Research Institute) กับผู้ใช้ความรู้หรือภาคเอกชน (Private sector) เพื่อนำความรู้ไปสร้างผลกระทบ (Impact) ทางเศรษฐกิจ

รัฐมีหน้าที่ลดทอน (Reduce) อุปสรรค (Obstacle) ในการเข้าถึง (Access) องค์ความรู้และทุนมนุษย์ ที่จำเป็น (Necessary) ต่อการพัฒนานวัตกรรมของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการควบคู่ (Couple) ไปกับ

2. การลดทอนอุปสรรคในการสะสมทุนของผู้ประกอบการ โดยเข้าไปแก้ไขความล้มเหลวของตลาด (Market failure), กำหนดกฎเกณฑ์ (Regulation), มาตรฐาน (Standard), หรือ สร้างสถานการณ์ (Situation) ที่เอกชนไทยสามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม (Fair competition)

แหล่งข้อมูล

  1. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/2024/06/ebook_สมุดปกขาว-เครื่องมือแพทย์.pdf [2025, April 22].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2025, April 22].