4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 58

หน่วยงานอำนวยความสะดวก (Facilitate) และสนับสนุนการยกระดับ (Raise) ศักยภาพ (Potential) ของผู้ประกอบการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) [Food and Drug Administration: FDA] ได้เพิ่มเติมบทบาท (Role) การเป็นผู้ส่งเสริมให้เครื่องมือแพทย์ (Medical device) ไทย ที่มีคุณภาพมาตรฐาน (Quality standard)

ทำให้สามารถออกสู่ตลาดได้ในระยะเวลารวดเร็ว (Rapidly) ผ่านการจัดตั้งระบบอำนวยความสะดวก และให้คำปรึกษาแก่ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ให้มีความเข้าใจในการจัดทำเอกสาร (Documentation) เพื่อขอรับรองมาตรฐาน (Accreditation) ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) [Thailand Center of Excellence for Life Sciences: TCELS)  ได้จัดทำศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์ (e-learning) ของ CSDT (Common submission dossier template) ที่ให้บริการข้อมูลความรู ้ในการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อขอขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ แล้วยังพร้อมให้ คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น

  • ระบบวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ (Domestic science and technology system) – ประเทศไทยลงทุน (Invest) ด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and development) ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง

แล้วยังได้บรรจุเรื่องเครื่องมือแพทย์ เป็นแผนงานสำคัญ (Flagship) ในแผนด้านวิทยาศาสตร์, วิจัย, และนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2570 โดยมีงบประมาณสนับสนุนปี 2563 ถึง พ.ศ. 2565 รวมกว่า 760 ล้านบาท และได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาด้านเครื่องมือแพทย์ให้แก่ 3 องค์กร

อันได้แก่ หน่วยบริหารทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (บพข.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency: NIA), และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ในปี พ.ศ. 2566 การวิจัยและการพัฒนาด้านการแพทย์ได้รับงบประมาณ (Government budget) เพิ่มขึ้นเป็น 789 ล้านบาทต่อปี

  • แหล่งเงินทุนและการร่วมลงทุนในนวัตกรรม (Seed and venture capital) ประเทศไทยมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนช่วงเริ่มต้น (Initial) ของการพัฒนาธุรกิจ เช่น กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation-​Based Enterprise Development Fund) หรือ TED Fund

กองทุนดังกล่าว เรียกกันว่า “กองทุนหว่านพืช” (Seeding fund) สำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development) ที่เหมาะสม (Appropriate) กับตลาด กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่มุ่งสนับสนุนการทำวิจัยทางคลินิก (Clinical research) ของภาคเอกชนซึ่งมักใช้งบประมาณสูง

แหล่งข้อมูล

  1. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/2024/06/ebook_สมุดปกขาว-เครื่องมือแพทย์.pdf [2025, May 20].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2025, May 20].