
1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 56
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 20 เมษายน 2568
- Tweet
SET Invest Now ออนไลน์ จั่วหัวข้อข่าวจากฝ่ายวิจัย บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) ว่า
แนวโน้มผลประกอบการอุตสาหกรรม โรงพยาบาลเอกชน ในปี พ.ศ. 2567 เติบโต 10% จากปีก่อน ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจาก
- การเติบโตจาก Pent-up demand [ความต้องการที่ลดลงอย่างมากระหว่างปิดประเทศ] และการระบาดของโรคที่เพิ่มขึ้นจาก โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ [โดยเฉพาะ COVID-19]
- การขยายโรงพยาบาลใหม่, การเพิ่มจำนวนเตียง, และการเปิดเพิ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Medical specialty) ของกลุ่มโรงพยาบาล
- การปรับขึ้นค่าบริการและกลยุทธ์เพิ่มรายได้ของโรคซับซ้อน (Complicated) ที่มีกำไรสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไร (Profitability)
- ผลบวก (Favorable) เต็มปี จากการปรับขึ้นค่าหัวประกันสังคม (Social security)
- ผลบวกจากการฟื้นตัว (Recovery) ของนักท่องเที่ยว และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น ฟรีวีซ่า
ถ้าจะคัดหุ้น Healthcare เข้าพอร์ต ต้องเลือกอย่างไร ?
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโรงพยาบาลของประเทศไทย และแนวโน้มอุตสาหกรรม
ภาพรวมอุตสาหกรรมโรงพยาบาลของประเทศไทยก็คือ จำนวนสถานพยาบาล (Healthcare facility) ทั่วประเทศ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2566 มีจำนวน 3.9 หมื่นแห่ง โดยแบ่งเป็น โรงพยาบาลภาครัฐ 35% และ โรงพยาบาลเอกชน 65% ขณะที่มูลค่าตลาด (Market value) สำหรับ โรงพยาบาลเอกชน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Securities Exchange of Thailand: SET) 22 แห่ง ณ สิ้นปี พ.ศ. 2566 มีรายได้รวม (Revenue) อยู่ที่ 53,242 ล้านบาท
อุตสาหกรรม โรงพยาบาลมีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นธุรกิจเชิงรัย (Defensive) ที่มีการเติบโตสม่ำเสมอ จะมีสะดุด (Stumble) เพียงช่วงสั้นๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2565 ถึง ช่วงครึ่งปีแรกปี พ.ศ. 2566 หลังจบวิกฤต (Crisis) การแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งผลประกอบการ (Operating Performance) มีการปรับลดลงจากฐานที่สูง จากอุปสงค์ (Demand) ที่สูงกว่าปรกติในช่วงของการระบาดระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2564 ขณะที่ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2566 อุตสาหกรรมโรงพยาบาล เริ่มปรับฐานสู่ระดับปรกติ ไม่มีผลกระทบ (Impact) ต่อรายได้จาก COVID-19
ปัจจุบันอุตสาหกรรมโรงพยาบาล มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง (Structure) ในการเข้าสู่แนวโน้มมหึมา (Megatrend) ของสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) จากข้อมูลของสหประชาชาติ (United Nations) เกี่ยวกับประชากร (Population) ผู้สูงอายุของโลก (World Population Aging) ประเมินว่า
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Completely-aged) โดยมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี เกิน 20% ของประชากรทั้งหมด ทำให้กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนมีการปรับกลยุทธ์ (Strategy) มาเน้นการให้บริการคนไข้ผู้สูงอายุมากขึ้นและ ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพ (Health consciousness) มากขึ้น
แหล่งข้อมูล –