เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 44 – นม (3)

เจ็บไข้ได้ป่วย – นม (3)

อันที่จริง นมเป็นอาหารเหลว (Liquid food) ที่อุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ (Nutrient-rich) ผลิตด้วยต่อมน้ำนม (Mammary gland) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal) รวมทั้งมนุษย์ที่ป้อนนมจากเต้า (Breast-fed) แก่ทารกก่อนที่ทารกจะสามารถย่อยอาหารแข็ง (Solid food) ได้ด้วยตนเอง

นมประกอบด้วยสารต้านเชื้อโรคในร่างกาย (Anti-body) ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune) แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากหลายโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ นมยังมีคุณค่าโภชนาการอื่นๆ อาทิ โปรตีนและน้ำตาล (Lactose)

แต่แคลเซียม (Calcium) ในนมไม่ถูกดูดซึม (Absorb) เพราะมันไม่ได้ประกอบด้วยอัตราส่วน (Ratio) ที่เหมาะสม (Appropriate) ของแร่ธาตุอื่นๆ อาทิ แมกนีเซียม (Magnesium) และแมงกานีส (Manganese) นอกเหนือจาก วิตามิน B 12 ซึ่งร่างกายของเราต้องใช้ในการซึมซับ (Assimilate) แคลเซียม อย่างพอเหมาะ (Properly) สาร (Substances) เหล่านี้มิได้มีอยู่ในนมในหนทางที่ร่างกายของเราจะสามารถดูดซึมได้ นมวัวจึงมีไว้เพื่อลูกวัว (Calf) มิใช่เพื่อคนที่เป็นผู้ใหญ่ (Human adult)

กุมารแพทย์ชาวอเมริกัน แฟรงค์ โอสกี (Frank Oski) ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าภาควิชากุมารเวช (Pediatrics) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย จอห์นส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins) กล่าวว่า “ไม่มีเหตุผลที่จะดื่มนมวัว ในช่วงไหนของชีวิต นมวัวถูกออกแบบ (Designed) ไว้ให้ลูกวัว มิได้ถูกออกแบบให้มนุษย์ และพวกเราทุกคนควรหยุดดื่มนมวันนี้เลย”

นมและผลิตภัณฑ์นม (Dairy products) ทำให้กระดูกของเราอ่อนแอ (Weaken) และเร่ง (Accelerate) กระดูกพรุน (Osteoporosis) การบริโภคนมเป็นสาเหตุของสภาวะที่ได้รับการโฆษณาว่า มันจะป้องกันได้ แต่ถ้าเรามีกระดูกที่แข็งแรง ก็ไม่ต้องดื่มนม

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) ได้ศึกษาแล้วตีพิมพ์ผลงานชิ้นโบว์แดง (Land-mark) ในวารสาร “สุขภาพพยาบาล” (Nurses Health) โดยติดตามผู้หญิง 78,000 คน ในช่วงเวลา 12 ปี แล้วพบว่า ผู้หญิงที่ได้แคลเซียมจากการบริโภคอาหารนม มีกระดูกแตกหัก (Broken bones) มากกว่าผู้ที่ไม่ค่อยดื่มนม

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ (Emeritus professor) ดร. ที คอลิน แคมป์เบล (Dr. T. Colin Campbell) แห่งภาควิชาเคมี-ชีววิทยาด้านโภชนาการ (Nutritional Bio-Chemistry) ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) กล่าวว่า

“ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภค (Intake) โปรตีนจากสัตว์ กับ อัตรากระดูกแตกหัก (Fracture) ดูเหมือนจะเข้มข้น (Strong) ราวกับความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ (Cigarette) กับ มะเร็งในปอด (Lung cancer)”

ดร. เอลลิส (Ellis) กล่าวสรุปว่า (Conclusively state) “ผลิตภัณฑ์นม (Dairy products) ไม่ดีสำหรับมนุษย์ มีประจักษ์หลักฐานล้นหลาม (Overwhelming evidence) ว่า นมและผลิตภัณฑ์นมเป็นอันตรายต่อผู้ใหญ่และเด็กทารก”

หมายเหตุ - บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Milk - https://en.wikipedia.org/wiki/Milk [2022, August 30].
  3. Frank Oski - https://en.wikipedia.org/wiki/Frank_Oski [2022, August 30].
  4. T. Colin Campbell - https://en.wikipedia.org/wiki/T._Colin_Campbell [2022, August 30].