เดย์แคร์นมแม่คุณภาพใกล้บ้าน ตอนที่ 3

ระบบบริการเดย์แคร์นมแม่คุณภาพ

  • ความหมาย
    • เดย์แคร์ ในที่นี้หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือ ศูนย์เด็กเล็ก กลุ่มเด็กเล็ก 3 ขวบปีแรก
    • เดย์แคร์นมแม่ หมายถึง เดย์แคร์ที่มีรูปธรรมระบบการจัดบริการที่รองรับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งการให้อาหารตามวัย ควบคู่นมแม่จนอายุ 2 ปีหรือมากกว่า ร่วมกับการเลี้ยงดู
    • เดย์แคร์นมแม่คุณภาพ หมายถึง เดย์แคร์ที่มีรูปธรรมระบบการจัดการที่รองรับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหารตามวัยดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับมีขบวนการเลี้ยงดูที่ให้ความสำคัญกับการฟูมฟักการเลี้ยงดูคู่กับการเรียนรู้และการฝึกทักษะในมิติต่างๆ เพื่อให้มีต้นทุนสุขภาวะที่ดี ร่วมกับต้นทุนคุณลักษณะพร้อมอยู่ในศตวรรษที่ 2
  •  ความจำเป็นสำหรับการส่งเสริมลูกคุณภาพ

        เนื่องจากระบบนิเวศในการเลี้ยงดูเด็กมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากข้อมูลรายงานสถานการณ์เด็กและสตรีประเทศไทย พศ. 25655 พบว่า

    • ผู้เลี้ยงดู : เด็ก อายุ 0-17 ปีไม่ได้อยู่กับแม่ ผู้ดูแลหลักเป็นปู่ ย่า ตา ยาย มีมากถึงร้อยละ 0 ของครัวเรือน ที่มีโทรศัพท์มือถือ มีร้อยละ 96.0 ของครัวเรือน สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์ใดใดที่บ้านมีร้อยละ 82.6 เด็กมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อายุ 0-1 ร้อยละ 27 อายุ 2-4 ปี ร้อยละ 80.4
    • ด้านสุขภาพพบว่า เด็กมีพัฒนาการตามเกณฑ์ ร้อยละ 8 ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะ 6 เดือนแรก เพียงร้อยละ 28.6 ที่อายุ 1 ปี ยังกินนมแม่เพียงร้อยละ 31.3 และที่อายุ 2 ปียังมีการใช้จุกขวดร้อยละ 78.6 และที่อายุ 2 ปีกินนมแม่เพียงร้อยละ 18.7 มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เตี้ยแคระแกรน ร้อยละ 12.5 มีพัฒนาการสมวัยเพียง ร้อยละ 77.8
    • เด็กอายุ 1-2 ปี ได้รับการเลี้ยงดูอบรมเพื่อให้มีวินัย โดยได้รับความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ0 และเป็นไปอย่างรุนแรง ร้อยละ 1.4 **  ได้รับความรุนแรงทางจิตใจ ร้อยละ 27.9 (การลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรง ได้แก่
      • การตีหรือตบเด็กที่หน้า ศีรษะหรือหู
      • ตีเด็กอย่างรุนแรง หรือตีเด็กซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างหนัก เท่าที่ทำได้

จะเห็นว่าผลกระทบเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับ ระบบนิเวศในการเลี้ยงดูเด็กสำคัญ 3 เรื่อง คือ

    1. พ่อแม่ต้องทำงานไม่สามารถเป็นหลักในการเลี้ยงลูก มีผลกระทบกับการให้การเลี้ยงดูคุณภาพ ทั้งในด้านสุขภาพและอารมณ์จิตใจ
    2. เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ไวไฟ เข้าถึงครัวเรือน มีผลกระทบกับขบวนการสื่อสารและการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียวและมีการเปลี่ยนรูปแบบรวดเร็ว รวมทั้งถ้าไม่มีคนดูแลควบคุมเนื้อหา เกิดความเสี่ยงสูงในการที่เด็กจะซึมซับพฤติกรรมไม่เหมาะสมไปอย่างไม่รู้ตัว
    3. ระบบและวิธีการเลี้ยงดูเด็กเล็ก ผลลัพธ์การเลี้ยงดูเมื่อเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่น หรือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ มีปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพกาย หรือมีพฤติกรรม ที่เป็นปัญหา เช่น เกเร ต่อต้าน ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่น ไม่มีมารยาท ย่อท้อ ไม่มุ่งมั่นพยายาม ฯลฯ การศึกษาติดตามระยะยาวและความรู้ด้านจิตวิเคราะห์และพัฒนาการเด็ก การเลี้ยงดูที่สร้างความกดดัน เช่น การห้าม ดุ บังคับ หรือการลงโทษรุนแรง ทั้งด้านร่างกายหรือจิตใจ การไม่มีตัวอย่างกิริยามารยาทหรือพฤติกรรมที่ดี การไม่เข้าใจพัฒนาการอารมณ์ เด็ก เช่น ง่วง หิว เหนื่อย เป็นตัวอย่างการขัดขวางพัฒนาการเด็กในระยะการสร้างตัวตน ส่งผลให้เกิดความเครียดและมีผลต่อโครงสร้างสมองที่มีการพัฒนาถึงร้อยละ 80 ใน 3 ขวบปีแรก

ข้อมูลและผลลัพธ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของครอบครัวไทยทั้งในด้านคนเลี้ยงดู ความรู้ในวิธีการเลี้ยงดู ควรต้องมีผู้ทำแทน และในยุคโลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วรุนแรงที่เราต้องช่วยกันสร้างให้เด็ก มีต้นทุนสุขภาะที่ดี ร่วมกับต้นทุนคุณลักษณะพร้อมอยู่ในศตวรรษนี้ การจัดระบบบริการ เดย์แคร์นมแม่คุณภาพใกล้บ้าน สนับสนุนแม่ทำงาน ส่งเสริมลูกคุณภาพ จึงเป็นทางเลือกที่มีความจำเป็นที่จะช่วยให้หนุ่มสาวมั่นใจว่าถ้ามีลูกลูกจะมีระบบการเลี้ยงดูแลลูกที่สะดวกและมีคุณภาพ