9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 57

ขณะที่ผู้บริโภคมีบทบาทเชิงรุก (Proactive) มากขึ้น ในการนำเสนหรือแลกเปลี่ยน (Exchange) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดส่ง (Delivery) บริการหรือสินค้าตามความเหมาะสม (Appropriate) ของแต่ละคน รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในกระบวนการส่งมอบสินค้าหรือบริการ

  1. ปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับเทคโนโลยีอนาคต

ผู้ให้บริการด้านสุขภาพต้องปรับกระบวนการการทำงาน (Work process) แบบเดิมให้เป็นระบบดิจิทัล เอื้อประโยชน์ต่อช่องทางการสื่อสารแบบหลากหลาย (Omnichannel) ทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างมีบูรณาการ (Integration) รวมไปถึงการเก็บบันทึกข้อมูลเชิงลึก (In-depth) ด้านสุขภาพ

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมรีการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีความจริงเสริมแต่ง (Augmented reality: AR) และความจริงเสมือน (Virtual reality: VR) แก่พนักงาน, การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ในการวินิจฉัยโรค (Diagnosis) และกระบวนการต่างๆ, รวมทั้งการใช้หุ่นยนต์ (Robot) มาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร

ตัวอย่างเช่น Apollo Hospitals ในอินเดีย ใช้ Vertex AI ของ Google Cloud และ Generative AI เพื่อพัฒนาเครื่องจักรปัญญาทางการแพทย์ (Clinical intelligence engine) ให้เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision-making) สำหรับแพทย์

  1. สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์

ผู้ให้บริการสุขภาพและพยาบาล ต้องมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic alliance) ให้ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นำเสนอการตอบโจทย์ (Solution) แบบ "ครบวงจร" ทั้งกลุ่มธุรกิจที่เป็นยี่ห้อ (Brand) รุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบ (Advantage) ในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ (Quality) มากขึ้น

การลงทุนด้านการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific: APAC)

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment: FDI) ในกลุ่มประเทศ APAC สะดุดลง (Stumble) ไปบ้างในช่วงการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 แต่ก็กลับมาฟื้นตัว (Recover) อีกครั้งและขยายการลงทุน (Investment expansion) ต่อเนื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asia) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกรายงานว่า FDI ด้านธุรกิจสุขภาพในภูมิภาค APAC กำลังขยายตัว โดยมีสหรัฐอเมริกาลงทุนมากที่สุด ตามมาด้วยสวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, และฝรั่งเศส

ขณะที่บริษัทจากจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, และอินเดีย พยายามเร่ง (Accelerate) ขยายการลงทุนภายในประเทศของตนเอง

บริษัทที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม (Innovation) ทางการแพทย์ และสุขภาพทางไกล (Telehealth) ที่คาดว่าจะเติบโตค่อนข้างดีในอนาคตอันใกล้นี้ได้แก่ การแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) และยีนบำบัดทางด้านมะเร็งวิทยา (Oncology therapy)

แหล่งข้อมูล

  1. http://www.medi.co.th/news_detail.php?q_id=420 [2025, May 11].
  2. https://en.wikiversity.org/wiki/Telemedicine [2025, May 11].