9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 58

งานวิจัยชิ้นหนึ่งคาดการณ์ว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้านการแพทย์เฉพาะทางในเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific: APAC) จะเพิ่มขึ้นจาก 8,320 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 274,560 ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2022 เป็น 18,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 600,600 ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2027 โดยนวัตกรรม (Innovation) จะเป็นหัวใจสำคัญของการเติบโตของตลาดนี้ในอนาคต

งบประมาณมหาศาล (Enormous budget) จะนำมาใช้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะจีนถือเป็นประเทศที่ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical products) มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพล่าสุดของจีนที่เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นพิเศษ

ธุรกิจด้านการใช้ระบบสื่อสาร (Communication) ด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในบริการด้านสุขภาพ, การบริหารสถานพยาบาล, และ การศึกษาทางการแพทย์และสาธารณสุข กำลังเติบโตเป็น 2 เท่าในตลาด APAC หลังวิกฤต (Crisis) โควิด-19 ร้านขายยา (Drug store) ที่ให้บริการทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์กลายเป็นจุดสัมผัส (Touchpoint) ที่ผู้บริโภคยอมรับ (Accept) มากขึ้น

มีผลสำรวจ (Survey) พบว่า สัดส่วน (Proportion) ของผู้บริโภคในกลุ่ม APAC ที่เต็มใจรับการรักษาพยาบาลจากร้านขายยา อาจเพิ่มขึ้นเป็น 73% โดยเฉพาะชั่วอายุคนรุ่น (Generation) Z อาจจะหันมาใช้บริการของร้านขายยาเพิ่มขึ้นถึง 82% ตราบใดที่จุดสัมผัสนี้ สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัย, การตรวจสุขภาพ (Health check-up), การส่งยาถึงบ้าน (Home delivery) และการจัดการยารักษาโรคเรื้อรัง (Chronic) อย่างเช่น ความดันโลหิตสูง (Hypertension) และเบาหวาน (Diabetics) ตามแนวทางของการดูแลรักษาแบบบูรณาการ (Integration

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) ของผู้ให้บริการดูแลสุขภาพมายาวนาน มีผู้ใช้งานรายเดือนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เช่น แอป Apollo 24/7 ของ Apollo Hospitals ในอินเดีย ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง (Access) บริการต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาผ่านวิดีโอ (Video-consultation), การจองนัดหมายแพทย์ (Appointment) ที่โรงพยาบาล, และการสั่งยาที่บ้านหลังการวินิจฉัย

ทั้งหมดนี้ทำได้ในแบบจุดเดียวครบวงจร (Single touchpoint) ตามหลักบูรณาการเชิงกลยุทธ์ (Strategic integration) ที่ลงตัวระหว่างบริการออนไลน์กับออฟไลน์ บริษัท Doctor Anywhere ในสิงคโปร์ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และบริการสุขภาพแบบดิจิทัลอื่นๆ ถึงกับลงทุนจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ด้านการดูแลสุขภาพชั้นนำ ในเอเชียพร้อมขยายคลินิกเฉพาะทาง (Specialized) ออกไปเป็น 12 แห่ง

ขณะเดี่ยวกัน AstraZeneca กำลังร่วมมือกับ Adherium Ltd นำเสนอเครื่องช่วยหายใจอัจฉริยะ (Smart respirator) ผ่านอุปกรณ์มือถือที่เชื่อมโยงกับประตู (Portal) ดิจิทัลที่ติดตาม (Monitor) ปริมาณยา และเปิดใช้งานการแบ่งปันข้อมูล (Data sharing) กับแพทย์

เป้าหมาย (Target) คือเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตาม (Comply) คำแนะนำของใบสั่ง (Prescription) ยาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (Health outcome) ที่ดีขึ้น ในทำนองเดียวกัน M-Wear ซึ่งเป็นอุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพของบริษัท Mindray สามารถติดตามสุขภาพของผู้ป่วยแบบเวลาจริง (Real time) หลังการผ่าตัด (Post-surgery) หรือการดูแลเรื้อรัง โดยให้ข้อมูลผู้ป่วยแบบเวลาจริงที่เชื่อถือได้ และการแจ้งเตือนแก่แพทย์หากจำเป็นต้องให้มีการพยาบาลแบบเฉียบพลัน (Acute)

แหล่งข้อมูล

  1. http://www.medi.co.th/news_detail.php?q_id=420 [2025 May 25].
  2. https://en.wikiversity.org/wiki/Telemedicine [2025, May 25].