
3. ตลาดยา – ตอนที่ 60
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 17 มิถุนายน 2568
- Tweet
- ธุรกิจร้านค้าปลีก/ร้านขายยาทั่วไป (Stand-alone) – รายได้ถูกกดดัน (Pressure) จาก
- การขยายสาขา (Chain store) ของผู้ประกอบการรายใหญ่ อาทิ ร้าน Fascino, ร้าน Save Drug (เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ), และร้าน Pure (เครือ Big C) ซึ่งมีแผนเปิดร้านขายยา Siri Pharmaเพิ่มขึ้น
- การขยายพื้นที่จำหน่ายยาของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) เช่น Discount store, Supermarket, และ Convenience store โดยเฉพาะร้าน 7-Eleven
- คู่แข่งจากร้านขายยาออนไลน์ และ
- ต้นทุนการลงทุนสูงขึ้น จากการปรับปรุง (Renovation) ร้านให้ได้มาตรฐาน (Standard) ร้านยา กระทบผลประกอบการอาจไม่สูงเท่าในอดีต
- ร้านค้าส่งเภสัชภัณฑ์– ปัจจุบันหันมาทำตลาดร้านค้าปลีก (Retail) มากขึ้น และเพิ่มช่องทาง (Channel) การขายและโฆษณา (Advertising) สินค้าผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้สามารถเข้าถึง (Access) กลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น จึงค่อนข้างได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost advantage) การจัดซื้อยา เมื่อเทียบกับธุรกิจร้านค้าปลีก/ร้านขายยาทั่วไป (Stand-alone)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration: FDA) ระบุว่าไทยมีโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) มากกว่า 150 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้มีไม่ถึง 10% ที่สามารถผลิตวัตถุดิบตัวยาสำคัญ (Active pharmaceutical ingredient) ได้เอง
ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการผลิตยาสำเร็จรูป (Finished drug) ของโรงงาน (Factory) ตนเองเป็นหลัก สำหรับการวิจัยและพัฒนา (Research and development) ยาตัวใหม่ มีเฉพาะการคิดค้นวัคซีนทั้งในระดับต้นธาร (Upstream) และปลายธาร (Downstream) โดยประเทศไทยมีแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ (Policy and Strategy Plan) วัคซีนแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548
ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2570 ซึ่งมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคนได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม เหมาะสมและเพียงพอ ทั้งในภาวะปรกติและภาวะฉุกเฉิน (Emergency) รวมถึงสามารถผลิตวัคซีนที่จำเป็นเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import substitute)
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม (Government Pharmaceutical Organization: GPO) และโรงงานเภสัชกรรมทหาร (Military Pharmacy Factory)
แหล่งข้อมูล –