
3. ตลาดยา – ตอนที่ 61
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 1 กรกฎาคม 2568
- Tweet
(1) องค์การเภสัชกรรม (Government Pharmaceutical Organization: GPO) เป็นทั้งผู้ผลิตยาหลัก (Major manufacture) และยาทดแทนการนำเข้า (Import substitute) บางประเภท โดยเฉพาะยารักษาโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) แบบเรื้อรัง (Chronic) เช่น ยาลดไขมัน (Lipid-lowering), ยารักษาโรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นต้น เพื่อจำหน่ายในราคาถูก และ
(2) โรงงานเภสัชกรรมทหาร เน้นผลิตยาชื่อสามัญ (Generic drug) จำหน่ายในประเทศทดแทนยานำเข้า ทั้งนี้ ภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระบุให้องค์การเภสัชกรรมอยู่ในฐานะผู้ประกอบการเช่นเดียวกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด (Market competition) มากขึ้นระหว่างองค์การเภสัชกรรมและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งรวมถึงต่างชาติที่ผลิตยาราคาถูกออกมาจำหน่าย เช่น อินเดียและจีน
กลุ่มที่ 2 บริษัทยาภาคเอกชน แบ่งเป็น
(1) บริษัทยาของผู้ประกอบการไทย เป็นบริษัทที่คนไทยถือหุ้นใหญ่ ส่วนมากผลิตยาชื่อสามัญทั่วไปมีราคาไม่สูง เช่น บริษัทเบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี, บริษัทไทยนครพัฒนา, บริษัทสยามฟาร์มาซูติคอล, บริษัทไบโอฟาร์มเคมิคัล, และบริษัทสยามเภสัช เป็นต้น บางรายอาจรับจ้างผลิตร่วมด้วย (Contract manufacturers) อาทิ บริษัทไบโอแลป, บริษัทเมก้าไลฟ์ไซแอ็นซ์, และบริษัทโอลิค (ประเทศไทย)
(2) บริษัทยาข้ามชาติ (Multinational companies: MNCs)ถือหุ้นส่วนมากโดยชาวต่างชาติ บางรายเป็นตัวแทนนำเข้า (Importer) ยาต้นตำรับหรือยาจดสิทธิบัตร (Original drug) มาจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูง และบางรายเข้ามาตั้งโรงงานผลิตยาสำเร็จรูป (Finished goods) ในไทย โดยบริษัทยาเอกชน (Private) ที่มีส่วนแบ่งตลาดด้านรายได้สูงสุด (ปี พ.ศ. 2566) คือ บริษัท Novartis รองลงมา ได้แก่ บริษัท Mega Lifesciences PTY, บริษัท Boots Retail, บริษัท GlaxoSmithKline, บริษัท Pfizer, และบริษัท AstraZeneca ตามลำดับ
ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านยา (Medication expenditure) ของประเทศ คิดเป็นสัดส่วน (Proportion) 29.0% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล (Medical expenditure) ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้า (Advancement) ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) ของไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (The Universal Coverage Scheme: UCS) ที่ครอบคลุมประชากรถึง 99.64% ของผู้มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพของประเทศ ทำให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึง (Access opportunity) การรักษาพยาบาล ซึ่งหมายถึงการบริโภคยามีทิศทาง (Direction) เพิ่มขึ้นตามมาด้วย
โดยล่าสุด ภาครัฐตั้งเป้างบประมาณ (Budget) สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UHC Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อยู่ที่ 2.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
แหล่งข้อมูล –