6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 59

  1. เทคโนโลยีการวิเคราะห์ DNA [= Deoxyribonucleic acidเป็นสารพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป]) ใช้เทคนิคในการค้นหาเครื่องหมายโมเลกุล (Genotyping-by-sequencing: GBS)
  2. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จากคลังข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์
  3. บุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ (Expertise) เฉพาะด้านในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ผลถูกต้อง (Accurate), แม่นยำ (Precise), และให้การบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน (Standard quality)

ในด้านผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ได้แก่ นักวิจัย (Researcher), เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine), โรงพยาบาล, คลินิก, บริษัทยาและเวชภัณฑ์ รวมไปถึง บริษัทพัฒนาพื้นฐาน (Platform) การรายงานผล

ในเสนอคุณค่า (Value proposition) ผู้รับบริการตรวจวินิจฉัยระดับพันธุกรรม (DNA) สามารถเข้าถึงผลลัพธ์ (Outcome) และข้อมูล เพื่อใช้วางแผนการรักษา หรือป้องกันความเสี่ยง (Risk) โรคต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น โดยจะแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพ (Healthcare) เช่น การบริโภคอาหารที่เหมาะสมด้วย

ในการแยกส่วนของลูกค้า (Customer segmentation) แบ่งเป็น

  1. ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (Business to business: B2B) หรือลูกค้าองค์กร ใช้บริการในการวินิจฉัยโรค (Diagnosis) เพื่อความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ผลจากความสามารถในการพยากรณ์ (Prognosis) ว่าคนไข้จะมีการตอบสนอง (Reaction) อย่างไร ต่อยาที่ได้รับ ทำให้คนไข้มีโอกาสได้รับยาที่เหมาะสม (Appropriate) กับตัวเองมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิผล (Effectiveness) ในการรักษา หรือให้บริการแก่ผู้เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพ ในการตรวจเพื่อป้องกัน จากโรงพยาบาลรัฐบาล, โรงพยาบาลเอกชน, และคลินิก
  2. ระหว่างธุรกิจกับผู้รับบริการ (Business to customer: B2C) หรือบุคคลทั่วไป เป็นการตรวจเพื่อรู้จักตนเอง ลงลึก (Deep) ถึงระดับ DNA ซึ่งจะช่วยให้ดูแลสุขภาพได้อย่างตรงจุด (Target) โดยสามารถปรับวิถีการใช้ชีวิต (Life style) ให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน (Sustainable) การตรวจ DNA จะทำให้ทราบถึงความเสี่ยงหรือโอกาส (Chance) ที่จะเกิดโรค การรับรู้ความเสียงตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) การใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ (Customer relationship) ดำเนินการผ่าน

  1. เว็บไซต์ (Website)
  2. สื่อสังคม (Social medial) เช่น Facebook และ Line OA (= Official Account)
  3. แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application platform) เช่น
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เชิงเว็บ (Web-based application)
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เชิง โทรศัพท์มือถือ (Mobile-based application)
    • การขายตรง (Direct sales) 

แหล่งข้อมูล

  1. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2021/TU_2021_6302010043_14889_17803.pdf [2025, June 5].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2025, June 5].