
6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 61
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 4 กรกฎาคม 2568
- Tweet
การจำลองสถานการณ์ด้านสมมติฐานทางการเงิน (Financial assumptions)
เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจ (Business conduct) และการลงทุนย่อมมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) เกิดขึ้น ที่จะส่งผลที่มี ทั้งด้านดี (Favorable) และด้านเสีย (Unfavorable) ต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ดังนั้น จึงต้องจำลองสถานการณ์ (Scenario) แบบปรกติ (Base case), แบบดีที่สุด (Best case) และแย่ที่สุด (Worst case)
โดยกำหนดให้ปัจจัยต่างๆ คงที่ (Constant) และเลือกวิเคราะห์ปัจจัยความอ่อนไหว (Sensitivity analysis) ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุด อันได้แก่ จำนวนของลูกค้า จากสถานการณ์ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 เปรียบเทียบสถานการณ์ปรกติ ก่อนวิกฤต (Crisis) การแพร่ระบาด
สถานการณ์ที่ดีที่สุด โดยสถานการณ์ผ่อนปรน (Ease) หลังการระบาดโควิด-19 ทำให้พฤติกรรม (Behavior) ผู้บริโภค สนใจการตรวจสุขภาพ (Health check-up) เพื่อการป้องกันมากขึ้น ทำให้สามารถขยายตลาดออกสู่ต่างจังหวัดได้ (Provincial expansion)
ในสถานการณ์ปรกติ แม้ว่าสถานการณ์ผ่อนปรนหลังการระบาดโควิด-19 ทำให้ พฤติกรรมผู้บริโภคสนใจการตรวจสุขภาพเพื่อการป้องกันมากขึ้น การบริหารจัดการภายในยังไม่พร้อมขยายการให้บริการในพื้นที่ต่างจังหวัด จากปัจจัยข้างต้นจะทำให้งบกำไรขาดทุน (Profit and loss) และตัวชี้วัดทางการเงิน (Financial indicators) เปลี่ยนแปลงไป
ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ยังคงอยู่ ทำให้ลดการรับผู้ป่วยนอก (Outpatients) ยังผลให้มีผู้เข้ารับบริการน้อยลง นอกจากยังมีลูกค้าน้อยแล้ว ยังไม่สามารถขยายพื้นที่บริการออกต่างจังหวัดได้ ส่งให้ส่งผลต่อจำนวนผู้รับบริการน้อยลง ทั้งในกลุ่มลูกค้าองค์กร (Business) และกลุ่มผู้บริโภค (Consumers) จากปัจจัยข้างต้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านงานขาย (Sales) และการตลาด (Marketing) ลดลง ทำให้งบกำ ไร-ขาดทุน และตัวชี้วัดทางการเงินเปลี่ยนแปลงไปตามรายละเอียด เช่นกัน
แผนฉุกเฉิน (Contingency plan)
ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ถึงความเสี่ยง (Risk analysis) ที่อาจจะเกิดขึ้นได้พร้อมกับวิธีการรับมือ (Handle) และแก้ไข (Solve) เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น (Smooth) โดยเหตุการณ์และแผนฉุกเฉินที่ทาการประเมินไว้ มี รายละเอียดดังนี้
กรณีรายได้ไม่ได้ตามเป้าหมาย
เมื่อจำนวนลูกค้าและรายได้ (Revenue) ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นปัจจัย (Factor) ที่สามารถเกิดขึ้น (Occur) ได้และมีผลกระทบ (Effect) ต่อธุรกิจมากที่สุด ดังเช่นข้อมูลข้างต้น แนวทางการแก้ไข ดังนี้
- การเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย จากกลยุทธ์การตลาดที่พยายามเจาะ (Penetrate) กลุ่มองค์กร ก็สามารถเพิ่มกลยุทธ์กลุ่มองค์กรทั่วไปที่กว้างขึ้น หลากหลายขึ้น (Multiple) เช่น ตลาดบริษัทประกันภัย (Insurance) เพื่อเพิ่มขนาดตลาดให้กว้างขึ้น โอกาส (Opportunity) ที่จะเพิ่มยอดขายก็มากขึ้นเช่นกัน
แหล่งข้อมูล –