
5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 60
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 19 มิถุนายน 2568
- Tweet
-
- บริษัทมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร (Written agreement) กับบริษัทรับจ้างผลิตในเรื่อง (Formular) ของสูตร ที่ให้ใช้เฉพาะแบรนด์ NATAMIND เท่านั้น และจะไม่นำไปผลิตหรือเปิดเผย (Reveal) ให้กับบริษัท อื่นๆ
- สร้างให้ยี่ห้อ (Brand) เป็นที่รู้จักผ่านการบอกต่อ (Words of mouth) ของผู้บริโภค หรือผ่านการพิจารณาถึง (Review) สินค้า และทำกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และเป็นสิ่งแรกที่นึกถึง (Top of mind) ของผู้บริโภค
ความเสี่ยงด้านการเงิน
- ขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจาก บริษัท นาทามายด์ จำกัด เป็น ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) รายใหม่ที่เพิ่งเริมดำเนินการ และเป็นกิจการขนาดเล็ก อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง (Liquidity) ทางการเงินได้ และอาจไม่มีเงินสดที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน หรือใช้จ่ายใน สภาวะฉุกเฉิน (Contingency) ได้ จึงต้องมีแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังนี้
-
- มีการตรวจสอบบัญชี (Audit) ในเรื่องของรายได้ และค่าใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอ (Regularly) เพื่อจัดการวางแผนทางการเงิน และจัดทำงบประมาณกระแสเงินสด (Cash flow) ล่วงหน้า เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินต่างๆ
- มีการเตรียมความพร้อม (Preparedness) ในการจัดหาแหล่งเงินทุน (Capital) เพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยพิจารณาขอกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน (Financial institute)
- ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากบริษัท นาทามายด์ จำกัด เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์อาจยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก จึงมีความเสี่ยงของการไม่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้า (Target) ที่วาง จึงต้องมีแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังนี้
-
- มีการวิจัยและพัฒนา (Research and development) ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตาม ความต้องการของผู้บริโภค และสร้างความเชื่อมันให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
- การเพิ่มรูปแบบสินค้าประเภทซองเล็ก (Sachet)) คือ ซองขนาดบรรจุ 2 - 3 แคปซูล และจัดจำหน่ายผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ (Convenience store) และช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้ทดลอง (Trial) สินค้ามากขึ้น อันนำมาสู่การซื้อสินค้าซ้ำ (Repeat) ต่อไป
- เพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการตลาดหรือช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution channel) โดยทางบริษัทจะต้องมีการวิเคราะห์ (Analysis) ประสิทธิผลของกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม (Adjustable) กับการซื้อของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เช่น การเพิ่มช่องทางการขาย ผ่านตัวแทนจำหน่าย (Distributor) เพื่อกระตุ้นยอดขาย และสร้างความน่าเชื่อถือของสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย
แหล่งข้อมูล –