4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 59

มูลนิธิ (Foundation) ของโรงพยาบาลที่ได้มีการปรับวัตถุประสงค์ (Objective adjustment) สามารถรับบริจาค (Donation) จากการซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยมาเป็นการลงทุนในบริษัทเพิ่งเริ่มต้น (Start-up) ด้านการแพทย์ หรือ การระดมทุนจากบุคคลธรรมดา (Crowd funding) ผ่านแพลตฟอร์มหรือมูลนิธิของมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างเช่น CU Enterprise ระดมทุนบริจาคเพื่อสนับสนุนบริษัทใบยาไฟโต้ฟาร์ม (Baiya Phytopharm) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กองทุนของภาคเอกชนที่ร่วมลงทุนกับหน่วยบริหารทุน ภาครัฐและมหาวิทยาลัยแพทย์กว่า 8 แห่งเพื่อจัดตั้งบริษัทรับจ้างศึกษาทางคลินิก (Clinical study) ที่ชื่อ Clinixir เป็นต้น

ประเด็น (Issue) สำคัญคือ การลดอุปสรรค (Obstacle) ในการเข้าสู่ตลาด (Market entry) และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการเครืองมือแพทย์ไทย (Market accessibility) ในตลาดหลักของเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ในประเทศไทย โดยเฉพาะเครื่องมือแพทย์ประเภทที่มีบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ควบคุมการใช้งานในสถานพยาบาล (Professional Use)

ในประเทศไทยมีสถานพยาบาล เกือบ 38,000 แห่ง แบ่งเป็นหน่วยงานรัฐ 13,000 แห่ง และเอกชน 25,000 แห่ง โดยรัฐเป็นผู้ซื้อ (Procurer) หลัก ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการสนับสนุนการสร้างอุปสงค์ (Demand) ขนาดใหญ่ หรือการเป็นผู้ซื้อรายแรกเพื่อสร้างความเชื่อมั่น (Confidence) และเป็นแหล่งอ้างอิง (Site reference)

ทั้งนี้ โรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนจะพิจารณาจากความคุ้มค่า (Cost-effectiveness) เป็นหลัก ในขณะที่โรงพยาบาลรัฐ จะมีกระบวนการ (Procedure) ในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ตามระเบียบการคลัง (Financial regulation) ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐทั่วไป

ตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยกว่า 70% เป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ การจัดซื้อแบบรุ่น (Lot) ใหญ่จะทำให้เกิดอุปสงค์ ที่สม่ำเสมอ (Regular) และเพียงพอ (Adequate) ที่จะเกิดเป็นอุตสาหกรรมการผลิต (Production industry) เครื่องมือแพทย์ จากนวัตกรรม (Innovation) ของไทยขึ้นมาได้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐได้มีความพยายาม (Effort) หรือมาตรการ (Measure) ที่จะให้ สถานพยาบาลของรัฐเป็นตลาดของนวัตกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) โดยกรมบัญชีกลาง (Comptroller General) ออกมาตรการบัญชีนวัตกรรม

บัญชีดังกล่าวกำหนดให้ภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างนวัตกรรมไทย ที่ขึ้นทะเบียน (Registered) ในบัญชีนวัตกรรมได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Specific) อย่างไรก็ตาม จากการประเมิน (Evaluate) ผลกระทบทางเศรษฐกิจของเครื่องมือแพทย์ในบัญชีนวัตกรรมไทยระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 พบว่ามียอดขาย เพียง 360 ล้านบาท

แหล่งข้อมูล

  1. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/2024/06/ebook_สมุดปกขาว-เครื่องมือแพทย์.pdf [2025, June 3].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2025, June 3].