
4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 60
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 18 มิถุนายน 2568
- Tweet
เครื่องมือแพทย์ (Medical device) ในบัญชีนวัตกรรมไทยระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 สร้างมูลค่าผลกระทบ (Impact) ทางเศรษฐกิจสุทธิเพียง 140 ล้านบาท
ผลลัพธ์นี้สะท้อน (Reflect) ให้เห็นว่า แม้จะมีการกำหนดให้หน่วยงานรัฐจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) พัสดุที่เป็นสินค้าในบญชีนวัตกรรมไม่ต่ำกว่า 30% ของรายจ่าย ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (Specific) แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ (Authority) จัดซื้อในหน่วยงานของรัฐนิยม เลือกใช้วิธีประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) มากกว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าที่มูลค่ามากกว่า 500,000 บาท ตามข้อกำหนดของการจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากความไม่มั่นใจ ในแนวปฏิบัติ (Practice) ของคณะกรรมการเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG) สาขาเครื่องมือแพทย์
แม้คณะทำงานของคณะกรรมการดังกล่าว ได้พยายามประชาสัมพันธ์ (Publicity) สร้างความเข้าใจ, จัดทำแคตาล็อก, ตลอดจนจัดทำเลขบัญชีรายการสินค้าในบัญชีนวัตกรรมให้ตรงกับเลข UNSPSC (United Nations Standard Products and Services Codes) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่จัดซื้อ ก็ตาม
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้แต้มต่อ (Handicap) แก่วิสาหกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and medium-sized enterprises: SMEs) ในการเสนอราคา (Quotation) ในกระบวนการ (Procedure) จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้สูงกว่าผู้ที่ให้ราคาต่ำสุดได้ไม่เกิน 10% ของผู้ประกอบการที่ไม่เป็น SMEs
สิทธิพิเศษ (Privilege) นี้ ให้แก่ SME-GP (= SME ที่ขึ้นทะเบียนกับการจัดซื้อจัดจ้างของนรัฐ Government Procurement) เป็นลำดับแรกก่อน จากมาตรการ (Measure) ดังกล่าว ทำให้มีมูลค่าจัดซื้อ (Procurement value) เครื่องมือและวัสดุ (Supplies) ทางการแพทย์ถึง 91,831.55 ล้านบาท
ทั้งนี้ มี SMEs ที่ได้รับประโยชน์ (Benefit) 8,953 ราย อย่างไรก็ตาม คาดว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ ส่วนมากเป็น SMEs ผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Federation of Thai Industries) ได้ให้การรับรอง (Certify) สินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตไทย และให้สิทธิประโยชน์แต้มต่อแก่ผู้ประกอบการที่นำสินค้าที่ขึ้นทะเบียน Made in Thailand (MiT) โดยสามารถเสนอราคา (Price offering) สูงกว่าราคาทั่วไปได้ไม่เกิน 5% ของราคาต่ำสุด เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือก (Selection) ต่อไป
ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีนโยบาย (Policy) จัดหาเครื่องมือแพทย์จากภายในประเทศ (Domestic) โดยให้ผนวกสินค้าจากบัญชีนวัตกรรม เพิ่มเติมในสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal health coverage: UHC) หรือ สิทธิบัตรทอง (Gold card)
แหล่งข้อมูล –