
4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 61
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 2 กรกฎาคม 2568
- Tweet
ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ที่ผลิตในประเทศไทย อันได้แก่ เช่น ถุงทวารเทียม (Ostomy), รากฟันเทียม (Dental implant), หรือแผ่นปิดกะโหลกศีรษะ (Cranioplasty) เฉพาะบุคคลจากไทเทเนียม ด้วยการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)
โดย สปสช. จะเป็นผู้จัดซื้อ (Procure) เครื่องมือแพทย์ เพื่อให้เกิดเป็นลอตใหญ่ และแจกจ่าย (Distribute) ให้แก่โรงพยาบาลในเครือข่าย (Network) ได้นำไปใช้งานจริง และตั้งเป้าที่จะจัดหาสินค้าดังกล่าว จากในประเทศ ในสัดส่วน (Proportion) 100%
5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่ยังไม่มีรายได้ (Income) สูงแต่มีระบบสาธารณสุข (Public Health) ที่เตรียมพร้อมสูง เป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของโลก อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยได้ใช้งบประมาณ (Budget) ไปกับระบบสาธารณสุขสูงมาก
แต่สวนทางกับความไม่สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาได้มากเพียงพอ (Adequate) ดังนั้น เพื่อความมั่นคง (Security) ทางสาธารณสุขในระยะยาว ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนค่าใช้จ่ายด้านครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (Medical equipment and supplies) ดังกล่าว ให้กลายมาเป็นการลงทุน (Investment)
ทั้งนี้ เพื่อสร้างศักยภาพทางนวัตกรรม (Innovation) ด้านการแพทย์ให้กับประเทศ ซึ่งจะช่วยลดภาระ (Burden) ค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำ (Inequality) และสร้างความมั่นคงในภาวะวิกฤติ (Crisis) โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังต่อไปนี้
- การพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้เชื่อมโยง (Link) กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยภาคีเครือข่ายวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Bio-medical engineering) ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำรวจวิเคราะห์ความต้องการ (Demand analysis) หรือตลาดแรงงาน (Labor market) ทั้งในมุมปริมาณ (Quantitative) และคุณภาพ (Qualitative) เพื่อระบุช่องว่างที่ยังต้องการการพัฒนาในมิติ (Dimension) ต่างๆ เช่น ทักษะ (Skill) ที่จำเป็น, คุณวุฒิวิชาชีพ (Professional qualifications), ตำแหน่งงาน (Job position), และค่าตอบแทน (Compensation) ที่เหมาะสม ฯลฯ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานช่าง (Technician) ทักษะสูงเพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์ (Medical device)
- การบริหารจัดการทุนวิจัยและพัฒนาเครื่องมือแพทย์ ที่เชื่อมโยงตลอดสายโซ่อุปทาน (Supply chain) และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) และ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการแพทย์
แหล่งข้อมูล –