
1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 57
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 4 พฤษภาคม 2568
- Tweet
นอกจากนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตอื่นๆ ได้แก่ การขยายตัวของชุมชนเมือง (Urban community), การขยาย โรงพยาบาลเข้าสู่เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC), อัตราการเสียชีวิตโรคซับซ้อน (Complicated) รุนแรงมากขึ้น, การพัฒนาเทคโนโลยีในการรักษา เช่น การแพทย์ทางไกล (Telemedicine), และการสนับสนุนของภาครัฐ ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) เป็นต้น
2. ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโรงพยาบาล
-
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP [Gross domestic product = ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ])ปรกติรายได้ของกลุ่ม โรงพยาบาลจะเติบโตในทิศทางเดียวกันกับ GDP ประมาณ (Approximately) 5 - 2 เท่าของ GDP ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจ มีผลต่อกำลังซื้อ (Purchasing power) ของผู้บริโภค, กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจของโรงพยาบาล, และแผนในการปรับค่าบริการ (Service fee)
- การเติบโตของจํานวนผู้ป่วย มีปัจจัย (Factor) สนับสนุนจากการระบาดของโรคที่เพิ่ม, การขยายเตียง, การเปิด โรงพยาบาลใหม่, การขยายศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Medical specialty), การเพิ่มความเข้มข้น (Intensity) [รายได้ต่อหัว] ที่สูงขึ้นจากการเพิ่มการรักษาโรคซับซ้อน เป็นต้น
- นโยบายในการปรับขึ้นราคาปรกติผู้ประกอบการจะมีการปรับขึ้นค่าบริการเฉลี่ยตามอัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) หรือการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวจากการขยายธุรกิจการแพทย์เฉพาะทาง
- แผนการขยายธุรกิจเป็นปัจจัยที่หนุนการเติบโตของธุรกิจ ทั้งแผนการปรับปรุง (Renovation) โรงพยาบาล, แผนการเพิ่มจำนวนเตียง, การสร้าง (Construction) โรงพยาบาลใหม่, การรับจ้างบริหาร (Contract management) โรงพยาบาล, แผนการควบรวม-ซื้อกิจการ (Merger-acquisition), การยื่นขอส่วนที่กำหนด (Quota) ประกันสังคมเพิ่ม สำหรับโรงพยาบาลที่รับลูกค้าประกันสังคม เป็นต้น
- การใช้เงินลงทุนมีผลต่อการเติบโตของธุรกิจ เช่น การใช้งบในการลงทุน (Investment expenditure) ขยายกิจการ, สร้างโรงพยาบาลใหม่, หรือซื้อกิจการ หรือนำไปชำระหนี้ (Debt payment) นอกจากนี้ ก็ต้องเข้าใจวัฏจักร (Cycle) การลงทุนของกลุ่มโรงพยาบาล
- การแข่งขันในอุตสาหกรรมปัจจัยที่ต้องคำนึง เช่น ทำเลที่ตั้ง (Location), จำนวนคู่แข่ง (Competitor) ขณะที่สถานการณ์การแข่งขัน (Competitive situation) ของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย มีแนวโน้มรุนแรง (Severe) มากขึ้น จากการแข่งขันทั้งจากผู้ประกอบการ (Entrepreneur) รายเดิม และผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น กลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ (Real estate) ที่เริ่มมาทำธุรกิจโรงพยาบาล ขณะที่ปัจจุบันเริ่มมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร (Staff shortage) ทางการแพทย์ โดยที่ผู้ประกอบการมีการแข่งขันด้านบริการ การแพทย์เฉพาะทาง และการขยายไปยังกลุ่มลูกค้าประกันสุขภาพ (Health security) มากขึ้น
- นโยบายภาครัฐมีผลต่อการเติบโตของกลุ่มโรงพยาบาล เช่น มาตรการฟรีวีซ่านักท่องเที่ยว ส่งผลบวก (Favorable) ต่อการเติบโตของลูกค้าต่างชาติ หรือมาตรการเชิงลบ (Unfavorable) เช่น การควบคุมราคายา เป็นปัจจัยลบต่อการปรับขึ้นราคา (Price adjustment)
แหล่งข้อมูล –