
1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 58
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 18 พฤษภาคม 2568
- Tweet
- จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเชิงสุขภาพ หรือการเติบโตของผู้ป่วยต่างชาติปัจจัยที่กระทบ ได้แก่ อัตราค่ารักษา(Treatment fee) เมื่อเทียบคุณภาพบริการ (Service quality) กับประเทศอื่น, มาตรการสนับสนุนภาครัฐการเปิดประเทศ, นโยบายของรัฐบาลต่างประเทศ (Foreign policy), การระบาดของโรค (Epidemic) หากรุนแรง เช่น COVID-19, เทศกาลและปัจจัยฤดูกาล (Seasonal factor) แต่ละประเทศ เช่น ช่วงถือศีลอด (Ramadan) ที่คนไข้ตะวันออกกลางจะงดเดินทาง
นักลงทุน (Investor) สามารถเลือกวิธีในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจการลงทุนได้ 2 วิธี กล่าวคือ Top-down analysis และ Bottom-up analysis ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- วิเคราะห์ปัจจัยมหภาค (Macro factors) เป็นการวิเคราะห์ จากบนลงล่าง หมายถึง การวิเคราะห์โดยให้ความสำคัญกับภาพใหญ่ (Big picture) ก่อน เช่น เศรษฐกิจโลก (World economy), เศรษฐกิจในประเทศ (Domestic) ปัจจัยการเมือง (Political) และสังคมก่อน (Social) แล้วจึงมาคัดกรองว่าภาพอุตสาหกรรมไหนที่โดดเด่นกว่า แล้วจึงมาพิจารณาเลือกบริษัทที่เข้าลงทุนยกตัวอย่างเมื่อพบว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว (Slow down) จึงมองหาอุตสาหกรรมในเชิงรับ (Defensive) ที่ยังเห็นการเติบโต พบว่าอุตสาหกรรมโรงพยาบาล (Industry) เข้าข่ายดังกล่าว จึงค่อยมาพิจารณาเลือกเปรียบเทียบในตัวบริษัทที่มีความน่าสนใจสุด ซึ่งวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพ (Quality), วิเคราะห์งบการเงิน (Financial statement) และด้านการประเมินมูลค่า (Valuation) เป็นต้น
- การวิเคราะห์ปัจจัยจุลภาค (Micro factors) ซึ่งจะกลับกัน กล่าวคือ จากล่างขึ้นบน ในกรณีที่นักลงทุนให้ความสำคัญกับตัวบริษัทที่ตัวเองสนใจก่อน เช่น พบว่ามีการเติบโต (Growth) ที่น่าสนใจ ให้ผลตอบแทนปันผล (Dividend) ที่ดี จึงค่อยไปพิจารณาภาพอุตสาหกรรม โดยการเปรียบเทียบกับหุ้นอื่นๆในอุตสาหกรรม แล้วค่อยดูปัจจัยมหภาค
- วิธีการประเมินมูลค่าหุ้น โรงพยาบาลวิธีที่เหมาะสมในการประเมินมูลค่ากลุ่ม คำถามมักจะเป็นควรใช้ P/E หรือ DC
P/E = Price Per Share/Earning Per Share ด้วยความที่โรงพยาบาลเป็นธุรกิจเงินสด, การเติบโตสม่ำเสมอ, และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on investment: ROI) เพิ่มทุกปี จึงมีความพิเศษ (Premium) เมื่อเทียบกับภาค (Sector) อื่น โดยกลุ่มโรงพยาบาลพรีเมียม เช่น BH (บำรุงราษฎร์) และ BDMS (กรุงเทพดูสิตเวชการ) ซื้อขายที่ P/E เฉลี่ย (อิงข้อมูล 10ปี) ที่ 30 - 35เท่า ในขณะที่ โรงพยาบาลอื่นๆ โดยเฉลี่ยซื้อขายที่ P/E เฉลี่ย 25 - 30เท่า
ส่วนอีกวิธี DCF (Discounted cash flow) คือ การนำกระแสเงินสดอิสระ (Free cash flow) หรือกระแสเงินสดที่ผู้ถือหุ้นได้จากกิจการ หลังจากที่บริษัทใช้จ่ายเงินไปในการลงทุนเพื่อทำธุรกิจ นำมาคิดลดด้วยต้นทุนของเงินทุนกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present value) รวมเป็นมูลค่ากิจการ ซึ่งเหมาะสำหรับบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่เข้ามาสม่ำเสมอ (Consistent cash-inflow)
แหล่งข้อมูล –