
1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 59
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 1 มิถุนายน 2568
- Tweet
DFC (= Discounted cash flow) มีความเหมาะสมกว่า เนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาลเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดเข้ามาสม่ำเสมอ (Recurring income) ขณะที่เป็นธุรกิจที่ลงทุนสูง วิธี DCF คำนึงถึงการลงทุนที่จะเกิดผลตอบแทนในอนาคต เช่น การลงทุนในการสร้าง (Construction) โรงพยาบาลใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลา 2 - 4 ปีในการคืนทุน
ขณะที่วิธี P/E (= Price-earnings ratio) ไม่ได้คำนึงถึงการลงทุนในอนาคต เมื่อมีการบันทึกค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ในปีแรกๆ ขณะที่รายได้ยังไม่เข้ามาก มีโอกาสที่จะทบต่อ (Impact) กำไร และมีผลให้ P/E สูงกว่าปกติ
รู้จักหุ้นกลุ่ม โรงพยาบาล
ลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ของกลุ่มโรงพยาบาล ก็คือ การรักษาโรค เป็น 1 ในปัจจัย 4 ต่อการดำรงชีวิต เป็นธุรกิจเงินสดเชิงรับ (Defensive) เนื่องจาก
- เป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดเข้ามาสม่ำเสมอ (Recurring income)
- สามารถปกป้องความเสี่ยงช่วงเงินเฟ้อ (Inflation) ได้ ขณะที่ในช่วงที่เงินเฟ้อสูงขึ้น ธุรกิจโรงพยาบาลสามารถปรับขึ้นค่าบริการ (Service fee) ได้ตามเงินเฟ้อ
- มีการเติบโตของกำไรสม่ำเสมอ (Consistent growth)
- มีความผันผวน (Fluctuation) ของราคาต่ำ (เมื่อเทียบอุตสาหกรรมอื่น และส่วนใหญ่มีค่า เบต้า (Beta) ต่ำ จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ชอบลงทุนในหุ้นที่มีความมั่นคงปลอดภัย (Security) ในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน
การแบ่งประเภทของ โรงพยาบาล สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบดังนี้
- แบ่งตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market capitation)สำหรับ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ (อิงเกณฑ์ Market capitalization มากกว่า 1 หมื่นล้านบาท) เช่น BDMS (กรุงเทพ), BH (บำรุงราษฎร์), BCH (เกษมราษฎร์) และ CHG (จุฬารัตน์) เป็นต้น ส่วน โรงพยาบาลขนาดเล็ก (อิงเกณฑ์ Market capitalization ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทลงมา) อาทิ EKH (เอกชัย), TNH (ไทยนครินทร์) และ IMH (มเหสักข์) เป็นต้น
- รูปแบบการให้บริการอาทิ กลุ่มเงินสด/โครงการภาครัฐ (ประกันสังคมประกันสุขภาพถ้วนหน้า [Universal health coverage]) หมายถึง โรงพยาบาลที่มีสัดส่วนรายได้จากเงินสดหรือโครงการภาครัฐอย่างมีนัยสําคัญ ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลที่มีรายได้จากโครงการภาครัฐ เช่น BCH, CHG, RJH (ราชธานี) และ LPH (ลาดพร้าว) ที่มีรายได้จากโครงการประกันสังคมในสัดส่วนที่สูงเกิน 20% ของรายได้
- จำนวนโรงพยาบาลแบ่งเป็น
- โรงพยาบาลเดี่ยว (Stand-alone) คือมี โรงพยาบาลเดียว ในสถานที่ตั้งเดียว เช่น PR9 (พระราม 9), EKH, BH ข้อเสีย คือ อาจไม่ได้รับอุปสงค์การบริโภคจากพื้นที่อื่น
แหล่งข้อมูล –
- https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/547-iaa-healthcare-2024?fbclid=IwY2xjawIf2mBleHRuA2FlbQIxMAABHb9ShYPqO10BQAldfFEmhc7vbnGFvaPlHEhXfG0yS9oIVFTJ6HocoOx6AA_aem_J0HJBelfwkYw8uEwVWM_9g [2025, May 31].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Healthcare_in_Thailand [2025, May 31].