1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 61

สำหรับกลุ่ม โรงพยาบาลการนำเกณฑ์ ESG มาใช้ในการพิจารณาการลงทุนมีดังนี้

  • ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental)เนื่องจากธุรกิจ โรงพยาบาลเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญได้แก่ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท ยกตัวอย่างเช่น การกำจัดขยะและของเสีย การแยกขยะติดเชื้อ นโยบายประหยัดพลังงาน เป็นต้น
  • ด้านสังคม (Social)เป็นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่กระทบต่อสังคม อาทิ การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม การดูแลความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงการมีสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  • ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance)คือ การมีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านการทุจริต ดำเนินงานอย่างโปร่งใส และดูแลผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสียด้วยความเป็นธรรม เช่น การที่ผู้บริหารไม่ใช้ข้อมูลภายในในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น ซึ่งเคยมีกรณีนี้เกิดขึ้น ทำให้กองทุนที่ใช้เกณฑ์ ESG ในการลงทุนมีการลดการลงทุนในหุ้นดังกล่าว

ในอีกมิติหนึ่ง settrade รายงานออนไลน์ถึงแนวโน้มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ว่า 

ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ของไทยปี ค.ศ. 2025 มีแนวโน้ม (Trend) เติบโตต่อเนื่อง จากกลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติ (Foreign patient) ที่ขยายตัว (Expand) ได้ดีและกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยที่มีแนวโน้มเติบโตปานกลาง (Moderate) อีกทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มในภาพรวม (Mega trend) ด้านสุขภาพ (Healthcare)

รายได้ธุรกิจ (Business revenue) โรงพยาบาลเอกชนของไทยคาดว่า (Expect) จะเติบโต 5.6% จากปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรายได้กลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นที่ 7.6% จากปีก่อน หลังจากปีที่แล้ว (ค.ศ. 2024) ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) ของคูเวตจากการเปลี่ยนนโยบายการส่งผู้ป่วยไปรักษาต่างประเทศของรัฐบาล

อีกทั้งไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ทั่วโลก แต่ยังมีความเสี่ยงที่อาจเผชิญ (Confront) แรงกดดัน (Pressure) จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (Global economic slow-down) จากความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของนโยบายการค้า (Trade policy) ของสหรัฐอเมริกา

ส่วนรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยคาดว่าจะเติบโตปานกลางที่ 5.2% จากปี ค.ศ. 2024 ชะลอตัวลงเล็กน้อย จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic impact) ไทยที่เติบโตในอัตราที่ลดลง (Declining rate) ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อเนื่องมายังกำลังซื้อ (Purchasing power) และการใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Healthcare expenditure) ของชาวไทย

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการจ่ายเงินคงที่ (Fixed payment) สำหรับกลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงของสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) และการทำประกันสุขภาพ (Health insurance) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปัจจัยที่จะเข้ามาช่วยเสริม (Supplementary) การเติบโตของรายได้จากผู้ป่วยชาวไทย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/547-iaa-healthcare-2024?fbclid=IwY2xjawIf2mBleHRuA2FlbQIxMAABHb9ShYPqO10BQAldfFEmhc7vbnGFvaPlHEhXfG0yS9oIVFTJ6HocoOx6AA_aem_J0HJBelfwkYw8uEwVWM_9g [2025, June 28].
  2. https://www.settrade.com/th/news-and-articles/articles/541-scb-eic-hospital-service [2025, June 28].