
1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 62
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 13 กรกฎาคม 2568
- Tweet
นอกจากนี้แนวโน้มในภาพรวม (Mega trend) ด้านสุขภาพ (Healthcare) จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ (Business growth) โรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวซึ่งประกอบด้วย
- การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ของไทยในปี ค.ศ. 2024 จากสัดส่วนประชากร (Population) อายุ 65 ปีขึ้นไป เท่ากับ 14% ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี ค.ศ. 2033 จะเป็นปีที่ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Elderly) ระดับสุดยอด (Super-aged society) จากสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 20%
- การเติบโตของคนชั้นกลางและกำลังซื้อที่สูงขึ้นจากสัดส่วนจำนวนครัวเรือน (Household) ยากจนของไทยที่ปรับลดลงและค่าเฉลี่ยรายได้ชนชั้นกลาง (Middle-class income) ที่เพิ่มขึ้น
- แนวโน้มการเป็นโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) แบบเรื้อรัง (Chronic) เพิ่มขึ้น จากสถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรค NCDs ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง(Continuous rise)
- พฤติกรรมผู้บริโภคมีแนวโน้มใส่ใจสุขภาพ (Health-consciousness) มากขึ้น หลังการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 และ
- การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์(Medical tourism) จากจุดแข็ง (Strength) ของไทยในด้านราคา (Pricing), การบริการ (Service), และการเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก (Global tourist destination)
แนวโน้มที่น่าสนใจของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่
- แนวโน้มสุขภาพและสุขภาพวะสมบูรณ์ (Wellness)จากผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น
- แนวโน้มเทคโนโลยีด้านการแพทย์ (Health Tech)ตามความก้าวหน้า (Advancement) ของเทคโนโลยี ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการรักษาและยกระดับ (Raise) การดูแลผู้ป่วย และ
- แนวโน้ม ESG(= Environmental, Social, และ Governance) ซึ่งธุรกิจโรงพยาบาลจะต้องปรับตัว (Adapt) เพื่อลดผลกระทบ (Effect) ด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ควรเตรียมพร้อมรับมือ (Handle) กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่จะมีผลต่อสุขภาพของประชาชน
สำหรับภาวการณ์แข่งขัน (Competitive situation) ในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนคาดว่าจะรุนแรง (Severe) มากขึ้น จากหลายเครือโรงพยาบาลที่วางแผน (Plan) และเตรียมเปิด (Launch) โรงพยาบาลแห่งใหม่หลายแห่งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดควบคู่ (Couple) กับการขยายจำนวนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลเดิมพร้อม ทั้งยังมีแนวทางพัฒนาธุรกิจ (Business development) การแพทย์ในทิศทาง (Direction) ที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย
3 ประเด็นหลัก (Major issue) ที่ท้าทาย (Challenge) ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี ค.ศ. 2025 และในระยะถัดไป ได้แก่
- พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) ที่คาดหวังในคุณภาพการรักษาและการบริการที่คุ้มค่า (Value) มากขึ้น
- การลงทุนด้านเทคโนโลยีสุขภาพ (Health technology) ซึ่งค่อนข้างจำเป็น (Necessary) แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัด (Limited budget) การลงทุนจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ (Prudent) และระมัดระวัง (Cautious) และ
- การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ (Regulation) ในการเบิกจ่ายตามสิทธิของผู้ป่วย (Reimbursement) ซึ่งธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนต้องเตรียมพร้อมและกระจายความเสี่ยง (Risk distribution) ไม่ให้พึ่งพาฐานลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป
แหล่งข้อมูล –